วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

หลักสูตรกฎหมายศุลกากรออนไลน์

หลักสูตรออนไลน์พื้นฐานกฎหมายศุลกากร (ระดับเริ่มต้น)
Customs Law Fundamentals Online Course (Beginner level)

สรุปพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 (ระดับขั้นพื้นฐาน)
     เรียนรู้และเข้าใจง่ายสำหรับผู้เริ่มต้น ผู้ที่เตรียมตัวสอบในระดับต่าง ๆ หรือผู้ที่ต้องการเรียรู้เพิ่มเติมเพื่อการผู้ใช้งานในภาคปฏิบัติหรืออื่น ๆ


ตอนที่ 2 การจัดเก็บอากร (ม.13 - 31)
ตอนที่ 2.1 การจัดเก็บอากร-การเสียอากร

1. หลักในการเสียค่าอากรและความรับผิด (ม. 13)
   1.1 ม. 13 ว1 หลักในการเสียอากร

   1.2 ม. 13 ว2 ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากร
   1.3 ม. 13 ว3 หน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้า
   1.4 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
   1.5 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

   1.6 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 10 วรรค 1 ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 เดิม (Online Courses Aavanced Level) 

ตอนที่ 2.3 การประเมินอากร

ตอนที่ 3 การนำของเข้าและการส่งของออก (ม.50-63)
ตอนที่ 4 การผ่านแดน การถ่ายลำ และของตกค้าง (ม.102 - 110)
ตอนที่ 5 คลังสินค้าทัณฑ์บน โรงพักสินค้า ที่มั่นคง และท่าเรือรับอนุญาต (ม.111 - 131)
ตอนที่ 6 เขตปลอดอากร (ม.136 - 156)
ตอนที่ 7 พนักงานศุลกากร (ม.157-174)
ตอนที่ 8 อำนาจทางศุลกากรในพื้นที่เฉพาะ (ม.175 - 201)
ตอนที่ 9 บทกำหนดโทษ (ม.202-247)
ตอนที่ 10 บทเฉพาะกาล (ม.248-262)


หลักสูตรออนไลน์เรียนรู้และใช้งานกฎหมายศุลกากร (ระดับก้าวหน้า)
Online Courses Learn and Use Customs Law (Advanced level)
สรุปพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 (ระดับขั้นก้าวหน้า)
(อยู่ระหว่างจัดทำหลักสูตร สามารถดูตัวอย่างได้ที่ Education Center for Customs Law)



ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 26/06/2564
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com


วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

3. แบบทดสอบท้ายบทหมวด 2 การจัดเก็บอากร

แบบทดสอบท้ายบท หมวด ๒ การจัดเก็บอากร

1. หลักในการเสียอากร (1)...................(2.)...................(3)......................

2. พิกัดอัตราท้าย พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร 2530 แบ่งออกเป็น 4 ภาค ได้แก่
ภาค 1………………………………. (มี....ข้อ)
ภาค 2 .............................................(มี.......หมวด.........ตอน)
ภาค 3 ……………………………………..(มี.......ประเภท)
ภาค 4………………………………………(มี..........ประเภท)

3. ตามพิธีสารว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ ซึ่งพิธีสารดังกล่าวได้กำหนดให้ใช้พิกัดศุลกากรในระดับ........หลักร่วมกัน

4. ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเกิดขึ้นในเวลาที่..................................................ตามมาตรา ๕๐

5. อธิบายการนำเข้าของสำเร็จหรือส่งของออกสำเร็จใน 4 เส้นทางหลัก ๆ (ทางทะเล, ทางบก, ทางอากาศ และทางไปรษณีย์) เป็นอันสำเร็จเมื่อใด

6. ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีหน้าที่เสียอากรเมื่อ................................ต่อพนักงานศุลกากรและพนักงานศุลกากร................................แล้ว

7. ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องยื่นใบขนสินค้าเมื่อใด...................................

8. กรณีใดที่ผู้ที่เกี่ยวข้องร้องขอให้นำของนั้นไปจากอารักขาของศุลกากรหรือส่งของนั้นออกไปนอกราชอาณาจักรโดยยังไม่ต้องยื่นใบขนสินค้าให้สมบูรณ์หรือยังไม่ต้องเสียอากรจนครบถ้วน

9. กรณีใดที่ผู้นำของเข้าไม่ต้องยื่นใบขนสินค้าสำหรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น

10. กรณีที่ใดผู้นำของเข้าสามารถยื่นคำขออนุญาตเปิดตรวจของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรนั้นได้

11. เมื่อนำของเข้ามาในหรือจะส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร รายการที่จำเป็นอย่างน้อยที่จะต้องสำแดงในใบขนสินค้า ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 52 ดังต่อไปนี้ (1)......................(2)..........................(3)........................(4)........................

12. ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตเกิดขึ้นเมื่อใด

13. ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าและการส่งออกเกิดขึ้นเมื่อใด

14. หลักการคำนวณสำหรับของนำเข้ามาในราชอาณาจักร ให้คำนวณตาม (1)........... (2)......... และ (3).......................ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ”

15. “ราคาศุลกากร” กรณีนำของเข้า หมายถึงราคาแห่งของเพื่อความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากรตามราคาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) .........................................
(ข) ..........................................
(ค) ........................................
(ง) ............................................
(จ) ...........................................
(ฉ) ........................................

16. . “ราคาศุลกากร” กรณีส่งของออก หมายถึง...................................................................

17. . “ราคาศุลกากร” กรณีนำของออกจากเขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือเขตอื่นใดในทำนองเดียวกัน เพื่อใช้หรือจำหน่ายภายในราชอาณาจักร ..............

18. CIF (Cost Insurance and Freight) หมายถึง.............................

19. ข้อยกเว้นการคำนวณการนำของเข้าสำเร็จ
(๑) กรณีของที่เก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน ............
(๒) กรณีของที่เก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายหรือถูกทำลาย ...............
(๓) กรณีของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นของเพื่อการผ่านแดนหรือเพื่อการถ่ายลำและต่อมามีการขอเปลี่ยนการผ่านพิธีการศุลกากรเป็นของนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง........

20. หลักการคำนวณสำหรับของส่งออก การคำนวณอากรสำหรับของที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้คำนวณ……………………………………………………………………………….

21. FOB (Free On Board) หมายถึง ..................................................

22. พิกัดอัตราอากรขาออกได้กำหนดไว้ในภาค 3 แนบท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 รวม ทั้งหมด.............ประเภท แยกออกเป็นที่ต้องอากรขาออก.............ประเภท

23. ตามมาตรา 18 ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถยื่นคำร้องขอต่ออธิบดีเพื่อให้พิจารณาเป็นการล่วงหน้าในเรื่องใดได้บ้าง
(๑) ......................................
(๒).......................................
(๓)...........................................


ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 25/07/2564
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com



วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

2. หลักการคำนวณอากรและราคาศุลกากร (ม. 14 - 18)


2. หลักการคำนวณอากรและราคาศุลกากร (มาตรา 14 - 18)
   ม. ๑๔ การคำนวณอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ให้คำนวณตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้
   (๑) กรณีของที่เก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน ให้คำนวณอากรตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำเข้าสำเร็จ แต่อัตราศุลกากรให้ถือตามอัตราศุลกากรที่ใช้อยู่ในเวลาซึ่งได้ปล่อยของเช่นว่านั้นออกไปจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะปล่อยของออกไปในสภาพเดิมที่นำเข้ามาหรือในสภาพอื่น
   (๒) กรณีของที่เก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายหรือถูกทำลาย ให้คำนวณอากรตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำของเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น
   (๓) กรณีของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นของเพื่อการผ่านแดนหรือเพื่อการถ่ายลำและต่อมามีการขอเปลี่ยนการผ่านพิธีการศุลกากรเป็นของนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง ให้คำนวณอากรตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
  ม. ๑๕ การคำนวณอากรสำหรับของที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้คำนวณตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่พนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว



2.1 มาตรา 14, 16-17 หลักการคำนวณสำหรับของนำเข้า
  ม. ๑๔ “การคำนวณอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ให้คำนวณตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ”

  1. สภาพแห่งของ เช่น ของใหม่ เก่า ของเหลว ของสำเร็จรูป วัตถุดิบต่าง ฯลฯ (สินค้าที่จับต้องได้)
  2. ราคาศุลกากร หมายถึง ราคาตามระบบราคา GATT หรือข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ. 1947 (General Agreement on Tariffs and Trade) หรือ แกตต์ (GATT) ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) ภายใต้การดำเนินการโดยองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO)
   ราคาศุลกากรตามระบบราคาแกตต์ ได้กำหนดครั้งแรกตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา ๒ นิยามคำว่า “ราคาศุลกากร” หรือ “ราคา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๓ ต่อมา พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ได้นำมาบัญญัติไว้ตาม ม.16 ไว้แล้ว

   “ม. ๑๖ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอากรตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ “ราคาศุลกากร” หมายถึงราคาดังต่อไปนี้
   (๑) กรณีนำของเข้า หมายถึงราคาแห่งของเพื่อความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากรตามราคาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    (ก) ราคาซื้อขายของที่นำเข้า
    (ข) ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน
    (ค) ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน
    (ง) ราคาหักทอน
    (จ) ราคาคำนวณ
    (ฉ) ราคาย้อนกลับ
   (๒) กรณีส่งของออก หมายถึงราคาขายส่งเงินสด ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่ส่งของออกโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด
   (๓) กรณีนำของออกจากเขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือเขตอื่นใดในทำนองเดียวกัน เพื่อใช้หรือจำหน่ายภายในราชอาณาจักร ให้ใช้ราคาศุลกากรตาม (๑) โดยอนุโลม
   หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ราคาและการกำหนดราคาศุลกากรตาม (๑) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”

กฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรานี้ ได้แก่
   กฎกระทรวง การกำหนดและการใช้ราคาศุลกากร พ.ศ. 2560
   - กำหนดให้ ราคาซื้อขายของที่นำเข้า (Transaction Value) จะต้องเป็นราคาที่ได้ชำระจริง/ที่จะต้องชำระสำหรับของที่นำเข้านั้นเมื่อได้มีการขายเพื่อส่งออกมายังราชอาณาจักร
  
- หมายถึงราคา CIF สำหรับการนำเข้าที่รวมค่าประกันภัย ค่าขนส่งของ ค่าขนของลง ค่าขนของขึ้น และค่าจัดการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งของที่นำเข้ามายังด่านศุลกากร ตาม ม.17 ดังนี้
   “มาตรา ๑๗ การกำหนดราคาศุลกากรในกรณีนำของเข้าจะต้องรวมค่าประกันภัย ค่าขนส่งของ ค่าขนของลง ค่าขนของขึ้น และค่าจัดการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งของที่นำเข้ามายังด่านศุลกากร
   ในกรณีที่ไม่มีมูลค่าของรายการค่าประกันภัยหรือค่าขนส่งของ หรือไม่มีค่าขนของลง ค่าขนของขึ้น หรือค่าจัดการต่าง ๆ ตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง การกำหนดมูลค่าของรายการดังกล่าวให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด”
   CIF (Cost Insurance and Freight) หมายถึง ผู้ขายมีภาระรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และค่าขนส่งของเพื่อการส่งของถึงปลายทางตามที่ระบุชื่อไว้ รวมถึงการทำประกันภัยในความเสี่ยงภัยต่อการเสียหาย หรือสูญหายระหว่างการขนส่งจนถึงท่าปลายทาง ทั้งนี้ ผู้ขายเป็นผู้ทำสัญญาและชำระค่าประกันภัย

2.2 มาตรา 14 (1) – (3) ข้อยกเว้นการคำนวณการนำของเข้าสำเร็จ
  ข้อยกเว้นการคำนวณที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้
   (๑) กรณีของที่เก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน ให้คำนวณอากรตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำเข้าสำเร็จ แต่อัตราศุลกากรให้ถือตามอัตราศุลกากรที่ใช้อยู่ในเวลาซึ่งได้ปล่อยของเช่นว่านั้นออกไปจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะปล่อยของออกไปในสภาพเดิมที่นำเข้ามาหรือในสภาพอื่น
   (๒) กรณีของที่เก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายหรือถูกทำลาย ให้คำนวณอากรตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำของเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น
   (๓) กรณีของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นของเพื่อการผ่านแดนหรือเพื่อการถ่ายลำและต่อมามีการขอเปลี่ยนการผ่านพิธีการศุลกากรเป็นของนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง ให้คำนวณอากรตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร

2.3 มาตรา 15, 16 หลักการคำนวณสำหรับของส่งออก
   ม. ๑๕ “การคำนวณอากรสำหรับของที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้คำนวณตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่พนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว”
   1. สภาพแห่งของ เช่น ของใหม่ เก่า ของเหลว ของสำเร็จรูป วัตถุดิบต่าง ฯลฯ (สินค้าที่จับต้องได้)
   2. ราคาศุลกากร หมายถึง ราคาสำหรับการส่งออกตามมาตรา 16 (2) และต้องเป็นราคา FOB ดังนี้
   - ม. ๑๖ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอากรตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ “ราคาศุลกากร” หมายถึงราคาดังต่อไปนี้...(๒) กรณีส่งของออก หมายถึงราคาขายส่งเงินสด ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่ส่งของออกโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด
    - FOB (Free On Board) หมายถึง ผู้ขายมีภาระรับผิดชอบต้องส่งมอบของลงเรือ ณ ท่าส่งออกที่ได้ระบุไว้ ส่วนผู้ซื้อจะต้องรับภาระค่าใช้จ่าบทั้งหมดรวมทั้งความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือสูญหายที่เกิดขึ้นเมื่อของอยู่บนเรือ กรมศุลกากรได้วางระเบียบปฏิบัติไว้ตามประกาศกรมศุลกากร ดังนี้
    - ปก.16/2561 การกำหนดมูลค่าของรายการค่าประกันภัย ค่าขนส่งของ ค่านของลง ค่าขนของขึ้น หรือค่าจัดการต่าง ๆ ลว.23.01.61 (ม.17) ได้กำหนดข้อตกลงการส่งมอบของในทางการค้าระหว่างประเทศ (International Commercial Term : INCOTERMS)
   3. พิกัดอัตราศุลกากร หมายถึง พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ดังนี้
    พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
    “ม.4 ของที่นำเข้ามาหรือพาเข้ามาในหรือส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักรนั้น ให้เรียกเก็บและเสียอากรตามที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรท้ายพระราชกำหนดนี้ หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดนี้
   พิกัดอัตราอากรขาออกได้กำหนดไว้ในภาค 3 แนบท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 รวม 9 ประเภท ดังนี้ เสียอากรตามราคาหรือตามสภาพ ประเภท 1 - 8
    1. ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ไม่ว่าจะเป็นข้าวเปลือก ข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง ปลายข้าว หรือรำ
    2. เศษโลหะทุกชนิด
    3. หนังโคและหนังกระบือ ไม่ว่าดิบหรือฟอกแล้ว (ไม่รวมถึงเศษตัด เศษและผง ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมทำหนังและอุตสาหกรรมผลิตหนัง) (ก) หนังดิบ (ข) อื่น ๆ
    4. ยางของต้นยางตระกูลฮีเวีย ไม่ว่าจะเป็นยางแผ่น ยางแท่ง เศษยาง ยางก้อน น้ำยาง หรือขี้ยางจากต้นยาง ยางปนดิน หรือปนเปลือกต้นยาง รวมทั้งยางในลักษณะอื่นซึ่งยังอยู่ในสภาพวัตถุดิบ
     (ก) ยางแผ่น ยางแท่ง และเศษของยางดังกล่าว นอกจากที่ระบุไว้ใน (ข) และ (ค)
     (ข) ยางแท่งตามมาตรฐานที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด
     (ค) ยางแผ่นชนิดเครป และเศษของยางแผ่นชนิดเครป
     (ง) น้ำยางข้น
     (จ) น้ำยางสด
     (ฉ) อื่นๆ
    5. ไม้ ไม้แปรรูป และของทำด้วยไม้ (ก) ไม้และไม้แปรรูป (ข) ของทำด้วยไม้ (1) ชนิดที่ไม่เหมาะที่จะนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่น (2) อื่น ๆ
    6. เส้นไหมดิบที่ยังมิได้ตีเกลียว และเส้นด้ายที่ทำด้วยไหม ขี้ไหม หรือเศษไหม
    7. ปลาป่นหรือเตาอบแห้งที่ยังมิได้ป่น อันไม่เหมาะสำหรับเป็นอาหารของมนุษย์
    8. ของที่ส่งออกจากพื้นที่พัฒนาร่วมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย
      (ก) น้ำมันส่วนที่เป็นกำไรอันเป็นส่วนแบ่งของผู้ได้รับสัญญาตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย ที่ขายนอกราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย
      (ข) น้ำมันส่วนที่เป็นกำไรอันเป็นส่วนแบ่งของผู้ได้รับสัญญาตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย ที่เข้าไปในราชอาณาจักรไทยหรือมาเลเซีย
      (ค) ของอื่น ๆ นอกจาก (ก) และ (ข) ที่ผลิตในพื้นที่พัฒนาร่วมที่เข้าไปในราชอาณาจักรไทย มาเลเซีย หรือประเทศอื่น
      (ง) ของที่มิได้ผลิตในพื้นที่พัฒนาร่วมที่เข้าไปในราชอาณาจักรไทย มาเลเซีย หรือประเทศอื่น
     9. ของซึ่งมิได้ระบุหรือรวมไว้ในประเภทอื่นใดในพิกัดอัตราอากรขาออกฉบับนี้ (ไม่ต้องเสียอากร)
   4. เวลาที่พนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้า
   ตาม ม. ๑๕ ที่ว่า “การคำนวณอากรสำหรับของที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้คำนวณตาม... ที่เป็นอยู่ในเวลาที่พนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว” นั้น หมายถึงการยื่นใบขนสินค้าขาออกด้วยระบบอิเล้กทรอนิกส์ ตามมาตรา 11 ดังนี้
    ม. ๑๑ การดำเนินการทางศุลกากร ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการทางศุลกากรโดยเอกสาร ทั้งนี้ การนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากรให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
    กรมศุลกากรได้กำหนดระเบียบปฏิบัติไว้ตามประกาศกรมศุลกากรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    - ปก.132/61 คู่มือการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการส่งออก (ม.7, 52)
    - ปก.133/61 คู่มือการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการนำเข้า (ม.7, 52)
    - ปก.134/61 การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ (ม.7, 29 - 31, 51, 63, 64, 71, 94, 96, 118, 122, 124, 126, 136, 139, 150 – 153, 155, 158 ประกอบ ม.53, 54 แห่ง พ.ร.บ. การนิคมฯ 2522)
    ตัวอย่างใบขนสินค้าขาออก


2.4 มาตรา 18 การขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกำเนิดแห่งของ หรือพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า
   ม. ๑๘ “ผู้ใดประสงค์จะขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกำเนิดแห่งของ หรือพิกัดอัตราศุลกากร ผู้นั้นอาจยื่นคำร้องขอต่ออธิบดีเพื่อให้พิจารณาเป็นการล่วงหน้าในเรื่องดังต่อไปนี้
   (๑) กำหนดราคาศุลกากรแห่งของที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักร
   (๒) กำหนดถิ่นกำเนิดแห่งของที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ
   (๓) ตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อจำแนกประเภทแห่งของในพิกัดอัตราศุลกากร
   การยื่น การพิจารณา และการแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
   ผลการพิจารณาคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง ผูกพันเฉพาะกรมศุลกากรและผู้ร้องขอตามระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด”
   ประกาศกรมศุลกากรที่เกี่ยวข้อง
   ปก.17/2561 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การยื่น การพิจารณา และแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกำเนิดแห่งของ และพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า ลว.23.01.61 (ม.18)

3. แบบทดสอบท้ายบท

ตอนที่ 2.3 การประเมินอากร
ตอนที่ 2.4 การคืนอากร
ตอนที่ 2.5 การวินิจฉัยอากรและการอุทธรณ์การประเมินอากร


ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 25/07/2564
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com






1. หลักในการเสียค่าอากรและความรับผิด (ม. 13) 1.1-1.2

ตอนที่ 2.1 การจัดเก็บอากร-การเสียอากร
1. หลักในการเสียค่าอากรและความรับผิด (ม. 13)
   1.1 ม. 13 ว1 หลักในการเสียอากร
   1.2 ม. 13 ว2 ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากร
   1.3 ม. 13 ว3 หน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้า

     1) ยื่นใบขนสินค้าเมื่อใด
        1.1) ต้องยื่นก่อนที่จะนำของออกไปจากอารักขาหรือก่อนที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ม. 51 วรรค 1 และ 2)
        1.2) กรณีนำของออกไปก่อนหรือส่งออกไปก่อนโดยที่ยังไม่ได้ทำใบขนสินค้า (ม. 51 วรรค 3)
        1.3) ของติดตัวผู้โดยสารเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ต้องยื่นใบขนสินค้าสำหรับของนั้น (ม. 53)
        1.4) การขอเปิดของก่อนทำใบขนสินค้า/ใบขอเปิดตรวจ (Bill of Sight) (ม. 54)
     2) รายละเอียดที่จำเป็นในการสำแดงในใบขนสินค้า (ม. 52)
     3) การยื่นและออกเลขที่ใบขนสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
   1.4 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
   1.5 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม


1. หลักในการเสียค่าอากรและความรับผิด (ม. 13)
   “มาตรา ๑๓ การนำของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้เรียกเก็บอากรจากผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
   ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จหรือส่งของออกสำเร็จตามมาตรา ๕๐
   ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีหน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานศุลกากรและพนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว”
   
 1.1 มาตรา 13 วรรค 1 หลักในการเสียอากร
   “มาตรา ๑๓ การนำของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้เรียกเก็บอากรจากผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร”

 


   1) ตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น
มาตรา 14 การคํานวณอากรสําหรับของที่นําเข้า
มาตรา 15 การคํานวณอากรสําหรับของที่ส่งออก
มาตรา 16 “ราคาศุลกากร”
มาตรา 17 การกําหนดราคาศุลกากร
มาตรา 18 ขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกําเนิด

   2) ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
   พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มีมาตราหลักๆ ที่สำคัญ เช่น มาตรา 4 หลักในการเรียกเก็บและเสียอากร และมาตรา
   “มาตรา 4 ของที่นำเข้ามาหรือพาเข้ามาในหรือส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักรนั้น ให้เรียกเก็บและเสียอากรตามที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรท้ายพระราชกำหนดนี้ หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดนี้
   ในการคำนวณเงินอากรที่ต้องเสียหรือจ่ายคืนแต่ละรายการ เศษของหนึ่งบาทให้ปัดทิ้ง"
   มาตรา 4 ที่ว่า “พิกัดอัตราท้ายพระราชกำหนดนี้” แบ่งออกเป็น 4 ภาค ประกอบไปด้วย
   ภาคที่ 1 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร (6 ข้อ)
   ภาคที่ 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า (21 หมวด 97 ตอน) ตามอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์และพิธีสารว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ (มาตรา 14 ทวิ) พิกัดอัตราอากรของไทยจึงประกอบไปด้วยรหัสตัวเลข 8 ตัว ดังนี้
   รหัสพิกัดอัตราศุลกากร 6 ตัว สำหรับ WTO ตามที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกองค์การศุลกากรโลก (WTO) และเป็นภาคีอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก
   รหัสพิกัดอัตราศุลกากร 8 ตัว สำหรับใช้ใน ASEAN ตามพิธีสารว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ ซึ่งพิธีสารดังกล่าวได้กำหนดให้ใช้พิกัดศุลกากรในระดับ ๘ หลักร่วมกัน หมายถึง นอกจาก 6 ตัวที่บังคับโดย WTO ในกลุ่มประเทศ ASEAN ได้ทำความตกลงใช้ในรหัสหลักที่ 7 และ 8 ร่วมกันดังนี้
   ประเภทย่อย 8483.40.20 - เกียร์และเครื่องเกียร์ นอกจากล้อเฟือง ล้อเฟืองขับโซ่ และส๋วนอื่น ๆ ของระบบส่งกำลังที่แยกนำเข้ามา บอลล์สกรูหรือโรลเลอร์สกรู กระปุกเกียร์และเครื่องเปลี่ยนความเร็วอื่น ๆ รวมถึงทอร์คคอนเวอร์เตอร์ (สำหรับยายทางน้ำ)
   ภาค 3 พิกัดอัตราอากรขาออก (9 ประเภท)
   ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากร (19 ประเภท
  หมายเหตุ รายละเอียดเพิ่มเติมตาม (1) พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๙ และประกาศกรมศุลกากรที่ 199/2599 แก้ไขเพิ่มเติมรหัสสถิติศุลกากร (ตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 97)



1.2 มาตรา 13 วรรค 2 ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากร
  มาตรา 13 วรรค 2 “ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จหรือส่งของออกสำเร็จตามมาตรา ๕๐”
  หมายเหตุ ความรับผิดสำหรับของที่โอนสิทธิเกิดขึ้นนับแต่ที่เป็นอยู่ในวันโอนหรือนำไปใช้ในการอื่น ตามมาตรา ๑๐ แห่ง พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530

“นำเข้าสำเร็จหรือส่งออกสำเร็จ” ตามที่กำหนดไว้มาตรา 13 วรรค 2 ข้างต้น
   หมายถึงการขนส่งของเข้าหรือออกผ่านเขตแดนแห่งราชอาณาจักรไทย สำหรับการขนส่งของเข้าหรือส่งของออกในทางการค้าระหว่างประเทศสามารถแบ่งเส้นทางการขนส่งได้ออกเป็น 4 เส้นทางหลักๆ ได้แก่ ทางทะเล ทางบก (รถยนต์และรถไฟ) ทางอากาศและทางไปรษณีย์ นอกจากนี้ยังมีการขนส่งเส้นทางอื่น ๆ ที่เป็นสินค้าประเภทของเหลวและพลังงานได้แก่ ทางท่อกับทางสายส่งไฟฟ้า (ประกาศกรมฯ ที่ 134/2561) เป็นต้น



การนำเข้าของสำเร็จหรือส่งของออกสำเร็จใน 4 เส้นทางหลัก ๆ ดังนี้
  1. การนำของเข้าหรือการส่งออกทางทะเล
   ตามมาตรา 50 (1) การนำของเข้าทางทะเลให้ถือว่า เป็นอันสำเร็จเมื่อเรือที่นำของเข้ามานั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะขนถ่ายของขึ้นจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ส่วนการส่งของออกทางทะเล ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อเรือที่จะส่งของออกนั้นได้ออกจากเขตท่าท้ายสุดเพื่อไปจากราชอาณาจักร

  2. การนำของเข้าหรือส่งออกทางบก
   มาตรา 50 (2) การนำของเข้าทางบก ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อยานพาหนะที่นำของเข้ามานั้นได้เข้ามาถึงเขตด่านพรมแดน ส่วนการส่งของออกทางบก ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อยานพาหนะที่จะส่งของออกนั้นได้ออกจากเขตด่านพรมแดนเพื่อไปจากราชอาณาจักร
  หมายเหตุ ดูบทวิเคราะห์ศัพท์ “ด่านพรมแดน” “เขตแดนทางบก” และ “ทางอนุมัติ” “ด่านศุลกากร” มีกำหนดนิยมคำศัพท์ไว้ตาม มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560

  3. การนำของเข้าหรือส่งของออกทางอากาศ
   มาตรา 50 (3) “การนำของเข้าทางอากาศ ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่ออากาศยานที่นำของเข้ามานั้นได้ถึงสนามบินที่เป็นด่านศุลกากร ส่วนการส่งของออกทางอากาศ ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่ออากาศยานที่จะส่งของออกนั้นได้ออกจากสนามบินที่เป็นด่านศุลกากรท้ายสุดเพื่อไปจากราชอาณาจักร”

  4. การนำของเข้าหรือส่งของออกทางไปรษณีย์
   มาตรา 50 (4) “การนำของเข้าทางไปรษณีย์ ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อได้เปิดถุงไปรษณีย์ ส่วนการส่งของออกทางไปรษณีย์ ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อได้ปิดถุงไปรษณีย์และได้ดำเนินการส่งออกตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”


1.3 ม. 13 ว3 หน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้า
1.4 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
1.5 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

2. หลักการคำนวณอากรและราคาศุลกากร (ม. 14 - 18)
2.1 ม. 14 หลักการคำนวณสำหรับของนำเข้า
2.2 ม. 14 (1) – (3) ข้อยกเว้นการคำนวณการนำของเข้าสำเร็จ
2.3 ม. 15 หลักการคำนวณสำหรับของส่งออก
2.4 ม. 18 การขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกำเนิดแห่งของ หรือพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า

3. แบบทดสอบท้ายบท

ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 7/17/2021


1.3 ม. 13 ว3 หน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้า

1.3 มาตรา 13 วรรค 3 หน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้า
   มาตรา 13 วรรค 3 “ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีหน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานศุลกากรและพนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว”


1) ยื่นใบขนสินค้าเมื่อใด
   1.1) ต้องยื่นก่อนที่จะนำของออกไปจากอารักขาหรือก่อนที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ม. 51 ว.1 และ 2)
    มาตรา 51 วรรค 1 และ 2 “ก่อนที่จะนำของใดไปจากอารักขาของศุลกากรหรือก่อนที่จะส่งของใดออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียอากรจนครบถ้วนหรือวางประกันไว้
    การยื่นใบขนสินค้า การเสียอากร และการวางประกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
   ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากรที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    -ปก.131/2561 การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร ลว.8 พ.ค.61 (ม.51, 52)
    -ปก.134/61 การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ (ม.7, 29 - 31, 51, 63, 64, 71, 94, 96, 118, 122, 124, 126, 136, 139, 150 – 153, 155, 158 ประกอบ ม.53, 54 แห่ง พ.ร.บ. การนิคมฯ 2522)

   1.2) กรณีนำของออกไปก่อนหรือส่งออกไปก่อนโดยที่ยังไม่ได้ทำใบขนสินค้า (ม. 51 ว.3)
   มาตรา 51 วรรค 3 “เมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องร้องขอและอธิบดีเห็นว่ามีความจำเป็นต้องนำของใดออกไปจากอารักขาของศุลกากรหรือต้องส่งของใดออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเร่งด่วน อธิบดีมีอำนาจอนุญาตให้นำของนั้นไปจากอารักขาของศุลกากรหรือส่งของนั้นออกไปนอกราชอาณาจักรโดยยังไม่ต้องยื่นใบขนสินค้าให้สมบูรณ์หรือยังไม่ต้องเสียอากรจนครบถ้วน ทั้งนี้ อธิบดีอาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ร้องขอต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ และในกรณีที่ต้องเสียอากร ให้ผู้ร้องขอวางประกันค่าอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
   รายละเอียดตามประกาศกรมศุลกากร ดังนี้
   - ปก.108/61 หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอรับของไปก่อนการปฏิบัติพิธีการศุลกากร (ม.51)

   1.3) ของติดตัวผู้โดยสารเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ต้องยื่นใบขนสินค้าสำหรับของนั้น (ม. 53)
    มาตรา ๕๓ ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร หากเป็นของติดตัวผู้โดยสารและมีมูลค่าไม่เกินจำนวนที่อธิบดีประกาศกำหนด ผู้นำของเข้าไม่ต้องยื่นใบขนสินค้าสำหรับของนั้น
    ในกรณีที่ของตามวรรคหนึ่งเป็นของที่ต้องเสียอากร ให้ผู้นำของเข้าเสียอากรเมื่อได้สำแดงของดังกล่าวต่อพนักงานศุลกากร หรือเมื่อพนักงานศุลกากรตรวจพบว่าของดังกล่าวเป็นของที่ต้องเสียอากร
    รายละเอียดตามประกาศกรมศุลกากร ดังนี้
    - ปก.60/61 การปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารที่นำติดตัวเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมกับตนทางท่าอากาศยาน (ม.51, 53, 157, 161, 172) ปก.79/61 แก้ไข ปก.60/2561 ยกเลิกความในข้อ 4 รับแจ้งของมีค่า)
    - ปก.65/61 การปฏิบัติพิธีการศุลกากรตรวจสินค้า ณ สนามบินที่เป็นด่านศุลกากร (ม.7, 50 -52, 93 - 99, 102 – 110, 118, 124, 125, 152 – 156, 158 – 161)
    - ปก.08/2561 การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเพื่อส่งออกของที่มีปริมาณเล็กน้อยตามแนวชายแดน ลว.19.01.61 (ม.51ว.2, 52, 91)
    - ปก.09/2561 การเก็บอากรปากระวางแก่ของซึ่งติดตัวผู้เดินทางเข้ามาทางด่านศุลกากรชายแดน ลว.19.01.61 (ม.51ว.2, 52, 91)
   
   1.4) การขอเปิดของก่อนทำใบขนสินค้า/ใบขอเปิดตรวจ (Bill of Sight) (มาตรา 54)
    มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้นำของเข้าไม่สามารถทำใบขนสินค้าสำหรับของใดได้ เพราะไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับของนั้นทั้งหมด ผู้นำของเข้าอาจยื่นคำขออนุญาตเปิดตรวจของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรนั้นได้ โดยให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
    เมื่อครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้นำของเข้าได้รับอนุญาตให้เปิดตรวจของตามวรรคหนึ่งแล้วผู้นำของเข้ายังไม่ยื่นใบขนสินค้าและไม่เสียอากรหรือวางประกันให้ถูกต้องครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าของที่มีการเปิดตรวจนั้นเป็นของตกค้าง
    รายละเอียดตามประกาศกรมศุลกากร ดังนี้
    ปก.41/61 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตเปิดตรวจของเพื่อทำใบขนสินค้าขาเข้า (ม.54)

2) รายละเอียดที่จำเป็นในการสำแดงในใบขนสินค้า (มาตรา 52)
    “มาตรา ๕๒ เมื่อนำของเข้ามาในหรือจะส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานศุลกากรตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
   (๑) ชนิดแห่งของ
   (๒) ปริมาณ น้ำหนัก และคุณภาพแห่งของ
   (๓) ราคาศุลกากร
   (๔) ประเทศต้นทางหรือประเทศปลายทาง
   เมื่อพนักงานศุลกากรได้ตรวจสอบรายการที่แสดงไว้ในใบขนสินค้าแล้วเห็นว่ารายการที่แสดงไว้นั้นครบถ้วน ให้พนักงานศุลกากรลงนามรับรองในใบขนสินค้าหรือใช้วิธีการอื่นใดตามที่อธิบดีกำหนดเพื่อรับรองว่ารายการที่ได้แสดงไว้นั้นครบถ้วนแล้ว”
   ตัวอย่างใบขนสินค้าขาเข้า

3) การยื่นและออกเลขที่ใบขนสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
   ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ระบบพิธีการศุลกากรได้ปรับมาใช้เป็นระบบไร้เอกสารเต็มรูปแบบ (Paperless) ซึ่งเป็นการดำเนินการทางศุลกากรในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเป็นการผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 จึงได้มีบทบัญญัติคุ้มครองไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 11 และ 12 ดังนี้
   "ม. ๑๑ การดำเนินการทางศุลกากร ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการทางศุลกากรโดยเอกสาร ทั้งนี้ การนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากรให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์"
  กรมศุลกากรได้กำหนดระเบียบปฏิบัติไว้ตามประกาศกรมศุลกากรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  - ปก.132/61 คู่มือการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการส่งออก (ม.7, 52)
  - ปก.133/61 คู่มือการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการนำเข้า (ม.7, 52)
  - ปก.134/61 การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ (ม.7, 29 - 31, 51, 63, 64, 71, 94, 96, 118, 122, 124, 126, 136, 139, 150 – 153, 155, 158 ประกอบ ม.53, 54 แห่ง พ.ร.บ. การนิคมฯ 2522)

1.4 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
   ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรีนั้น และถ้าผู้นำเข้าหรือบุคคลใดนำสินค้าดังกล่าวไปใช้ภายในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี ก็ให้ถือว่าเป็นการนำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรี แล้วแต่กรณี (มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560)

1.5 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
   สำหรับการนำเข้า ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาเข้า วางหลักประกันอากรขาเข้า หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาเข้า เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาเข้าหรือได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร (มาตรา ๗๘/๒ แห่งประมวลรัษฎากร)
   สำหรับการส่งออก ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาออก วางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออก เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออกหรือได้รับยกเว้นอากรขาออก แล้วแต่กรณี ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกาก (มาตรา ๗๘ แห่งประมวลรัษฎากร)


2. หลักการคำนวณอากรและราคาศุลกากร (ม. 14 - 18)
2.1 ม. 14 หลักการคำนวณสำหรับของนำเข้า
2.2 ม. 14 (1) – (3) ข้อยกเว้นการคำนวณการนำของเข้าสำเร็จ
2.3 ม. 15 หลักการคำนวณสำหรับของส่งออก
2.4 ม. 18 การขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกำเนิดแห่งของ หรือพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า

3. แบบทดสอบท้ายบท

ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 10/07/2564
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com


วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

แบบทดสอบท้ายบทตอนที่ 1

ตอนที่ 1 ภาพรวมกฎหมายศุลกากร วิเคราะห์ศัพท์ กฎกระทรวงและบททั่วไป (ม.4 – 12)

1. พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 เริ่มมีผลใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เริ่มใช้บังคับจริงวันที่........................

2. พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 แบ่งออกเป็น.......หมวด รวมทั้งหมด............มาตรา

3. ให้ความหมายของถ้อยคำต่อไปนี้ตามที่ ปรากฏในมาตรา 4 ดังนี้
มาตรา 4 วรรค 1 “อากร”
มาตรา 4 วรรค 2 “ผู้นําของเข้า”
มาตรา 4 วรรค 3 “ผู้ส่งของออก”
มาตรา 4 วรรค 4 “ของต้องห้าม”
มาตรา 4 วรรค 5 “ของต้องกํากัด”
มาตรา 4 วรรค 6 “ด่านศุลกากร”
มาตรา 4 วรรค 7 “ด่านพรมแดน”
มาตรา 4 วรรค 10 “เขตแดนทางบก”
มาตรา 4 วรรค 11 “ทางอนุมัติ”
มาตรา 4 วรรค 12 “การผ่านแดน”
มาตรา 4 วรรค 13 “การถ่ายลํา”
มาตรา 4 วรรค 14 “พนักงานศุลกากร”

4. มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานศุลกากร กับออกกฎกระทรวงในเรื่องต่าง ๆ 6 ข้อ ดังต่อไปนี้....

5. มาตรา ๖ ในกรณีที่มี...................เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้

6. มาตรา ๗ อธิบดีอาจเรียกให้ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการศุลกากรให้..........อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อรับรองว่าจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการศุลกากร

7. มาตรา ๘ บรรดาบัญชี เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเสียอากร หรือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าทำเป็น.......................อธิบดีอาจสั่งให้ผู้ยื่นบัญชี เอกสารหรือหลักฐานดังกล่าว จัดการแปลเป็น..................ให้เสร็จและส่งภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควร

8. มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง ร้อง.................................................ในทางศุลกากร ตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร เมื่อได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีแล้ว ให้ดำเนินการตามที่ร้องขอได้

9. มาตรา ๑๐ การขอสำเนาใบรับรอง ใบขนสินค้า บัญชี หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับการศุลกากร ซึ่งมิได้...................นั้น เมื่ออธิบดีเห็นสมควรก็ออกให้ได้ โดยให้ผู้ขอเสียค่าใช้จ่ายตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

10. มาตรา ๑๑ การดำเนินการทางศุลกากร ถ้าได้กระทำในรูปของ................................... ให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการทางศุลกากรโดยเอกสาร ทั้งนี้ การนำ.............................มาใช้ในการศุลกากรให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

11 มาตรา ๑๒ การดำเนินการใดโดยทางเอกสารซึ่งพระราชบัญญัตินี้บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ถ้าได้กระทำในรูปของ....................................... ให้ถือว่าเป็นความผิดและมีโทษเช่นเดียวกับการกระทำที่ได้ดำเนินการโดยทางเอกสาร

ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 7/17/2021


วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

5. บททั่วไป (หมวด 1)

หมวด 1 บททั่วไป (ม.6-12)
หมวด ๑ บททั่วไป
    มาตรา ๖ ในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้
    ในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นแก่อากาศยาน และมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคมนาคมระหว่างประเทศ รัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเฉพาะกรณี ให้ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกหรือผู้ควบคุมอากาศยานใดได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๓ การนำของเข้าและการส่งของออก โดยจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้
    มาตรา ๗ อธิบดีอาจเรียกให้ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการศุลกากรให้ประกันอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อรับรองว่าจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการศุลกากร
    การให้ประกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
    มาตรา ๘ บรรดาบัญชี เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเสียอากร หรือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศ อธิบดีอาจสั่งให้ผู้ยื่นบัญชี เอกสารหรือหลักฐานดังกล่าว จัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จและส่งภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควร
    มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง ร้องขอให้ดำเนินพิธีการศุลกากรหรือให้บริการใด ๆ ในทางศุลกากร ตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร เมื่อได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีแล้ว ให้ดำเนินการตามที่ร้องขอได้
    มาตรา ๑๐ การขอสำเนาใบรับรอง ใบขนสินค้า บัญชี หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับการศุลกากร ซึ่งมิได้เป็นความลับนั้น เมื่ออธิบดีเห็นสมควรก็ออกให้ได้ โดยให้ผู้ขอเสียค่าใช้จ่ายตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
    มาตรา ๑๑ การดำเนินการทางศุลกากร ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการทางศุลกากรโดยเอกสาร ทั้งนี้ การนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากรให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
    มาตรา ๑๒ การดำเนินการใดโดยทางเอกสารซึ่งพระราชบัญญัตินี้บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าเป็นความผิดและมีโทษเช่นเดียวกับการกระทำที่ได้ดำเนินการโดยทางเอกสาร

มาตรา 6 ในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ
    - เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
    - ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง
    - กำหนดให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้
   ตัวอย่าง เช่น
กฎกระทรวงกำหนดการยื่นใบขนสินค้าและการเสียอากรสำหรับก๊าซธรรมชาติและพลังงานไฟฟ้าที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๖๐

มาตรา 7 อธิบดีอาจเรียกให้ประกัน
- อธิบดีอาจเรียกให้ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการศุลกากร
- ให้ประกันอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อรับรองว่าจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการศุลกากร
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก.132/61 คู่มือการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการส่งออก (ม.7, 52)
- ปก.133/61 คู่มือการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการนำเข้า (ม.7, 52)

มาตรา 8 เอกสารที่เกี่ยวข้องให้แปลเป็นภาษาไทย
    - บรรดาบัญชี เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเสียอากร หรือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศ
    - อธิบดีอาจสั่งให้ผู้ยื่นบัญชี เอกสารหรือหลักฐานดังกล่าว จัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จและส่งภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควร
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก. 94/64 การลงทะเบียนผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากร (ม.8, 51, 99, 100, 101)

มาตรา 9 การร้องขอให้ดําเนินพิธีการศุลกากร
    - ในกรณีที่ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
    - ร้องขอให้ดำเนินพิธีการศุลกากรหรือให้บริการใด ๆ ในทางศุลกากร ตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
    - เมื่อได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีแล้ว ให้ดำเนินการตามที่ร้องขอได้
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก.59/61 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการตรวจปล่อยผู้โดยสารและหีบห่อสัมภาระระหว่างสนามบินภายในประเทศ โดยวิธีการ Check Through (ม.7, 9, 97)
- ปก.73/62 การดำเนินกระบวนการทางศุลกากร สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละศูนย์ตาม มาตรา ๘๐/๑ แห่งประมวลรัษฎากร ขายสินค้าภายในบริเวณ ห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ (ม.9, 51, 52, 158, 159)
- ปก. 47/63 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) สำหรับผู้นำของเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) (ม.7, 9, 51)
- ปก.81/63 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ม.7, 9, 51)


มาตรา 10 การขอสําเนาเอกสาร
    - การขอสำเนาใบรับรอง ใบขนสินค้า บัญชี หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับการศุลกากร ซึ่งมิได้เป็นความลับนั้น
    - เมื่ออธิบดีเห็นสมควรก็ออกให้ได้ โดยให้ผู้ขอเสียค่าใช้จ่ายตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก.170/2560 กำหนดค่าใช้จ่ายการขอสำเนาใบรับรองใบขนสินค้าบัญชีหรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับการศุลกากร ลว.22.11.60 (เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ ธันวาคม ๒๕๖๐)
- ปก.09/62 การเพิ่มช่องทางการชำระเงินค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียมศุลกากร รายได้อื่นและ/หรือเงินประกัน และการพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน กศก.123 (ม.10, 51)


มาตรา 11 การดำเนินการทางศุลกากรในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
    - การดำเนินการทางศุลกากร ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
    - ให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการทางศุลกากรโดยเอกสาร
    - ทั้งนี้ การนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากรให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก.61/61 ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของหรือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ (ม.11, 12, 99, 101)

มาตรา 12 การกระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีความผิดและโทษเช่นเดียวกับเอกสาร

    - การดำเนินการใดโดยทางเอกสารซึ่งพระราชบัญญัตินี้บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
    - ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
   - ให้ถือว่าเป็นความผิดและมีโทษเช่นเดียวกับการกระทำที่ได้ดำเนินการโดยทางเอกสาร
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก.61/61 ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของหรือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ (ม.11, 12, 99, 101)


ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 26/06/2564 Update 04/07/64
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com


หลักสูตรกฎหมายศุลกากรออนไลน์

หลักสูตรออนไลน์พื้นฐานกฎหมายศุลกากร (ระดับเริ่มต้น) Customs Law Fundamentals Online Course (Beginner level) สรุปพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 25...