วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

1. หลักการและเหตุผล ภาพรวม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560

ตอนที่ 1 ภาพรวมกฎหมายศุลกากร บทวิเคราะห์ศัพท์ การออกกฎกระทรวงและบททั่วไป (ม.4 – 12)
1. หลักการและเหตุผล
2. ภาพรวม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560
3. บทวิเคราะห์ศัพท์
4. การออกกฎกระทรวง (กฎหมายลำดับรอง)
5. บททั่วไป (หมวด 1)



1. หลักการและเหตุผล
   หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 คือ
   1.1 พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางเรื่องล้าสมัยหรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
   1.2 มีการตรากฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวหลายฉบับ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้บังคับกฎหมาย
   1.3 การค้าและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้พัฒนาและขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีความจำเป็นต้องปรับปรุงการดำเนินพิธีการศุลกากรและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
   1.4 เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
   ม. ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หน้า ๒๖ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐)


2. ภาพรวม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560
   กำหนดให้ ม. ๔ เป็นบทวิเคราะห์ศัพท์ และ ม. ๕ ว่าด้วยอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถาพรวมกฎหมายได้แบ่งออกเป็น 9 หมวด และบทเฉพาะ รวมทั้งหมด 262 มาตรา ดังนี้

หมวด ๑ บททั่วไป (ม. ๖ - ๑๒)

หมวด ๒ การจัดเก็บอากร (ม.13 – 49)
ส่วนที่ ๑ การเสียอากร (ม.๑๓ – ๑๘)
ส่วนที่ ๒ การประเมินอากร (ม.๑๙ – ๒๔)
ส่วนที่ ๓ การคืนอากร (ม.๒๕ – ๓๑)
ส่วนที่ ๔ การวินิจฉัยอากรและการอุทธรณ์การประเมินอากร (ม.๓๒ – ๔๙)

หมวด ๓ การนำของเข้าและการส่งของออก (ม.๕๐ – ๖๓)
ส่วนที่ ๑ การนำของเข้าและการส่งของออกทางทะเล (ม.๖๔ – ๘๕)
ส่วนที่ ๒ การนำของเข้าและการส่งของออกทางบก (ม.๘๖ – ๙๑)
ส่วนที่ ๓ การนำของเข้าและการส่งของออกทางอากาศ (ม.๙๒ – ๙๘)
ส่วนที่ ๔ ตัวแทน (ม.๙๙ – ๑๐๑)

หมวด ๔ การผ่านแดน การถ่ายลำ และของตกค้าง (ม.102 – 110)
ส่วนที่ ๑ การผ่านแดนและการถ่ายลำ (ม.๑๐๒ – ๑๐๖)
ส่วนที่ ๒ ของตกค้าง (ม.๑๐๗ – ๑๑๐)

หมวด ๕ คลังสินค้าทัณฑ์บน โรงพักสินค้า ที่มั่นคง และท่าเรือรับอนุญาต (ม.111 – 135)
ส่วนที่ ๑ การจัดตั้ง (ม.๑๑๑ – ๑๑๕)
ส่วนที่ ๒ การดำเนินการ (ม.๑๑๖ – ๑๓๑)
ส่วนที่ ๓ การพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาต (ม.๑๓๒ – ๑๓๕)

หมวด ๖ เขตปลอดอากร (ม.136 – 156)
ส่วนที่ ๑ การจัดตั้งเขตปลอดอากร (ม.๑๓๖ – ๑๔๕)
ส่วนที่ ๒ การขออนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากร (ม.๑๔๖ – ๑๕๐)
ส่วนที่ ๓ สิทธิประโยชน์ในเขตปลอดอากร (ม.๑๕๑ – ๑๕๖)

หมวด ๗ พนักงานศุลกากร (ม.๑๕๗ – ๑๗๔)

หมวด ๘ อำนาจทางศุลกากรในพื้นที่เฉพาะ (ม.175 – 201)
ส่วนที่ ๑ เขตควบคุมศุลกากร (ม.๑๗๕ – ๑๗๗)
ส่วนที่ ๒ พื้นที่ควบคุมร่วมกัน (ม.๑๗๘ – ๑๘๓)
ส่วนที่ ๓ การค้าชายฝั่ง (ม.๑๘๔ – ๑๘๗)
ส่วนที่ ๔ เขตต่อเนื่อง (ม.๑๘๘ – ๑๙๑)
ส่วนที่ ๕ พื้นพัฒนาร่วมกัน (ม.๑๙๒ – ๒๐๑)
ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 26/06/2564
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หลักสูตรกฎหมายศุลกากรออนไลน์

หลักสูตรออนไลน์พื้นฐานกฎหมายศุลกากร (ระดับเริ่มต้น) Customs Law Fundamentals Online Course (Beginner level) สรุปพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 25...