วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

4. การออกกฎกระทรวง (กฎหมายลำดับรอง)

มาตรา 5 การออกกฎกระทรวงต่าง ๆ เพื่อกำหนดกิจการตามกฎหมาย
   "มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานศุลกากร กับออกกฎกระทรวงในเรื่องดังต่อไปนี้
    (๑) กำหนดท่า ที่ หรือสนามบินใด ๆ ในราชอาณาจักรให้เป็นด่านศุลกากร โดยจะกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้ รวมทั้งระบุเขตศุลกากรของด่านศุลกากรนั้น
    (๒) กำหนดที่ใด ๆ ให้เป็นด่านพรมแดน โดยจะกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้
    (๓) กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ หรือยกเว้นค่าธรรมเนียม
    (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นใบขนสินค้าและการเสียอากร สำหรับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่มีลักษณะพิเศษหรือมีเหตุจำเป็น
    (๕) กำหนดชนิดหรือประเภทของสินค้าอันตราย การเก็บและการขนถ่ายสินค้าอันตรายที่อยู่ในเขตศุลกากรและที่นำออกไปจากเขตศุลกากร รวมทั้งวิธีการจัดเก็บอากรสำหรับสินค้าอันตรายดังกล่าว
    (๖) กำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
    กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้"



มาตรา ๕ (๑) กำหนดท่า ที่ หรือสนามบินใด ๆ ในราชอาณาจักรให้เป็นด่านศุลกากร
    -โดยจะกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้
    -รวมทั้งระบุเขตศุลกากรของด่านศุลกากรนั้น
มาตรา ๕ (๒) กำหนดที่ใด ๆ ให้เป็นด่านพรมแดน
    โดยจะกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้

ตัวอย่าง เช่น
กฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน พ.ศ. ๒๕๖๐




แผนที่ตั้งด่านศุลกากรทั่วประเทศ


มาตรา ๕ (๓) กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ หรือยกเว้นค่าธรรมเนียม
    ตัวอย่าง เช่น
กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐


มาตรา ๕ (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นใบขนสินค้าและการเสียอากร สำหรับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่มีลักษณะพิเศษหรือมีเหตุจำเป็น
    ตัวอย่าง เช่น
กฎกระทรวงกำหนดการยื่นใบขนสินค้าและการเสียอากรสำหรับก๊าซธรรมชาติและพลังงานไฟฟ้าที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๖๐



มาตรา ๕ (๕) กำหนดชนิดหรือประเภทของสินค้าอันตราย
    -การเก็บและการขนถ่ายสินค้าอันตรายที่อยู่ในเขตศุลกากรและที่นำออกไปจากเขตศุลกากร
    -รวมทั้งวิธีการจัดเก็บอากรสำหรับสินค้าอันตรายดังกล่าว
    ตัวอย่าง เช่น
    - กฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภท การเก็บและการขนถ่ายและการจัดเก็บอากร สำหรับสินค้าอันตราย พ.ศ. ๒๕๖๐ 

    - ปก.142/2560 พิธีการศุลกากรว่าด้วยของตกค้าง ลว.13.11.60 (ม.107, 108, 109 และ 110) -เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๗๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
    (กำหนดให้ของนำเข้าที่เป็นสินค้าอันตรายตามชนิด หรือประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด ซึ่งผู้นำของเข้ามิได้นำของออกไปจากเขตศุลกากรภายในห้าวัน สำหรับของที่ขนถ่ายข้างลำ (OVERSIDE) และภายใน 7 วันสาหรับกรณีอื่น นับแต่สินค้าอันตรายอยู่ในอารักขาของศุลกากร ถ้าพ้นกำหนดแล้วสินค้าอันตรายนั้นจะตกเป็นของตกค้างโดยผลของกฎหมาย)



มาตรา ๕ (๖) กำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
    กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
    ตัวอย่าง เช่น
   - กฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายการเก็บรักษาของในที่เก็บรักษาหรือในคลังสินค้าของศุลกากร 
พ.ศ ๒๕๖๐


   - กฎกระทรวงกำหนดพื้นที่ที่ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรการครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ซึ่งของในเขตปลอดอากร พ.ศ. ๒๕๖๐



ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 26/06/2564  Update 04/07/64
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หลักสูตรกฎหมายศุลกากรออนไลน์

หลักสูตรออนไลน์พื้นฐานกฎหมายศุลกากร (ระดับเริ่มต้น) Customs Law Fundamentals Online Course (Beginner level) สรุปพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 25...