วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

3. บทวิเคราะห์ศัพท์

มาตรา 4 บทวิเคราะห์ศัพท์
    มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
    “อากร” หมายความว่า อากรศุลกากรที่จัดเก็บกับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร
    “ผู้นำของเข้า” ให้หมายความรวมถึง เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียในของใด ๆ นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรจนถึงเวลาที่พนักงานศุลกากรได้ส่งมอบให้ไปโดยถูกต้องพ้นจากอารักขาของพนักงานศุลกากร
    “ผู้ส่งของออก” ให้หมายความรวมถึง เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียในของใด ๆ นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาในอารักขาของพนักงานศุลกากรจนถึงเวลาที่ได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
    “ของต้องห้าม” หมายความว่า ของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามมิให้นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำผ่านราชอาณาจักร
    “ของต้องกำกัด” หมายความว่า ของที่มีกฎหมายกำหนดว่า หากจะมีการนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำผ่านราชอาณาจักร จะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
    “ด่านศุลกากร” หมายความว่า ท่า ที่ หรือสนามบินที่ใช้สำหรับการนำของเข้า การส่งของออก การผ่านแดน การถ่ายลำ และการศุลกากรอื่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
    “ด่านพรมแดน” หมายความว่า ด่านที่ตั้งขึ้น ณ บริเวณเขตแดนทางบก บนทางอนุมัติ เพื่อประโยชน์ในการตรวจของที่ขนส่งโดยทางนั้น
    “เรือ” หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำที่ใช้ในการขนส่งของหรือคน และให้หมายความรวมถึงเรือประมงด้วย
    “นายเรือ” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหรือควบคุมเรือ
    “เขตแดนทางบก” หมายความว่า เขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรกับดินแดนต่างประเทศและให้หมายความรวมถึงทางน้ำใด ๆ ที่เป็นเขตแดนแห่งราชอาณาจักรหรือตอนหนึ่งแห่งเขตแดนนั้น
    “ทางอนุมัติ” หมายความว่า ทางที่ใช้ขนส่งของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจากเขตแดนทางบกมายังด่านศุลกากร หรือจากด่านศุลกากรไปยังเขตแดนทางบก
    “การผ่านแดน” หมายความว่า การขนส่งของผ่านราชอาณาจักรจากด่านศุลกากรแห่งหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามาไปยังด่านศุลกากรอีกแห่งหนึ่งที่ขนส่งของออกไป ภายใต้การควบคุมของศุลกากร โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่ว่าการขนส่งนั้นจะมีการขนถ่ายของเพื่อเปลี่ยนยานพาหนะ การเก็บรักษาของ การเปลี่ยนภาชนะบรรจุของเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง หรือการเปลี่ยนรูปแบบของการขนส่งของด้วยหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการใช้ประโยชน์ใด ๆ ซึ่งของนั้นหรือมีพฤติกรรมใด ๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้าเกี่ยวกับของดังกล่าวในราชอาณาจักร
    “การถ่ายลำ” หมายความว่า การถ่ายของจากยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามาในราชอาณาจักรไปยังอีกยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร ภายใต้การควบคุมของศุลกากรในด่านศุลกากรแห่งเดียวกัน โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร
    “พนักงานศุลกากร” หมายความว่า
    (๑) บุคคลซึ่งรับราชการในกรมศุลกากรและได้รับการแต่งตั้งจากอธิบดีให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามปกติหรือให้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะการ
    (๒) เจ้าหน้าที่ทหารเรือ นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพิเศษจากอธิบดีให้กระทำการแทนกรมศุลกากร
    (๓) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้กระทำการเป็นพนักงานศุลกากร
    “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
    “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา 4 วรรค 1 “อากร” “Duty” หมายความว่า
(1) อากรศุลกากรที่จัดเก็บกับ
(2) ของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
  (2.1) ตามพระราชบัญญัตินี้และ
  (2.2) กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรหรือ
  (2.3) กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร


ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๑๓ การนำของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้เรียกเก็บอากรจากผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
   ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จหรือส่งของออกสำเร็จตามมาตรา ๕๐
   ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีหน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานศุลกากรและพนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว

มาตรา 4 วรรค 2 “ผู้นําของเข้า” “Importer” ให้หมายความรวมถึง
(1) เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียในของใด ๆ
(2) นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรจนถึงเวลาที่พนักงานศุลกากรได้ส่งมอบให้ไปโดยถูกต้องพ้นจากอารักขาของพนักงานศุลกากร


มาตรา 4 วรรค 3 “ผู้ส่งของออก” “Exporter” ให้หมายความรวมถึง
(1) เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียในของใด ๆ
(2) นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาในอารักขาของพนักงานศุลกากรจนถึงเวลาที่ได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร


ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๕๑ ก่อนที่จะนำของใดไปจากอารักขาของศุลกากรหรือก่อนที่จะส่งของใดออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียอากรจนครบถ้วนหรือวางประกันไว้
   การยื่นใบขนสินค้า การเสียอากร และการวางประกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

มาตรา 4 วรรค 4 “ของต้องห้าม” “Prohibited goods” หมายความว่า
(1) ของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามมิให้
(2) นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำผ่านราชอาณาจักร

มาตรา 4 วรรค 5 “ของต้องกํากัด” “Restricted goods” หมายความว่า
(1) ของที่มีกฎหมายกำหนดว่า หากจะมีการนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำผ่านราชอาณาจักร
(2) จะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๑๖๖ ของที่ยังมิได้เสียอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร เป็นของที่พึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้
   มาตรา ๒๔๔ ผู้ใดนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
   ผู้ใดพยายามกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน



มาตรา 4 วรรค 6 “ด่านศุลกากร” “Customs house” หมายความว่า
(1) ท่า ที่ หรือสนามบินที่ใช้สำหรับ
(2) การนำของเข้า การส่งของออก การผ่านแดน การถ่ายลำ และการศุลกากรอื่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร


มาตรา 4 วรรค 7 “ด่านพรมแดน” “Border Crossing Point” หมายความว่า
(1) ด่านที่ตั้งขึ้น ณ บริเวณเขตแดนทางบก
(2) บนทางอนุมัติ เพื่อประโยชน์ในการตรวจของที่ขนส่งโดยทางนั้น

มาตรา 4 วรรค 10 “เขตแดนทางบก” “Land frontier” หมายความว่า
(1) เขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรกับดินแดนต่างประเทศ
(2) และให้หมายความรวมถึงทางน้ำใด ๆ ที่เป็นเขตแดนแห่งราชอาณาจักรหรือตอนหนึ่งแห่งเขตแดนนั้น

มาตรา 4 วรรค 11 “ทางอนุมัติ” “Authorized route” หมายความว่า
(1) ทางที่ใช้ขนส่งของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(2) จากเขตแดนทางบกมายังด่านศุลกากร หรือจากด่านศุลกากรไปยังเขตแดนทางบก


ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๘๖ การขนส่งของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตั้งแต่เขตแดนทางบกมายังด่านศุลกากร หรือจากด่านศุลกากรไปยังเขตแดนทางบก ต้องขนส่งตามทางอนุมัติ และภายในกำหนดเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด
   การขนส่งของตามทางอื่นนอกจากทางอนุมัติหรือในเวลาอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
   มาตรา ๘๗ ในกรณีที่การขนส่งของตามมาตรา ๘๖ เป็นการขนส่งตามลำน้ำที่เป็นเขตแดนทางบก ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่ตามลำน้ำที่เป็นเขตแดนทางบกนั้น เพื่อให้นายเรือจอดเทียบท่าและขนถ่ายของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

มาตรา 4 วรรค 8 “เรือ” “Vessel” หมายความว่า
(1) ยานพาหนะทางน้ำที่ใช้ในการขนส่งของหรือคน
(2) และให้หมายความรวมถึงเรือประมงด้วย

มาตรา 4 วรรค 9 “นายเรือ” “Master of a vessel” หมายความว่า
บุคคลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหรือควบคุมเรือ

ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๖๔ เรือที่เข้ามาในราชอาณาจักรเว้นแต่เรือของทางราชการ ให้นายเรือมีหน้าที่ทำรายงานเรือเข้าและยื่นบัญชีสินค้าสำ หรับเรือและแสดงใบทะเบียนเรือต่อพนักงานศุลกากรเพื่อตรวจสอบ
   การทำรายงานเรือเข้าและการยื่นบัญชีสินค้าสำหรับเรือตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
   ในกรณีที่เรือตามวรรคหนึ่งมาถึงท่าที่เป็นด่านศุลกากร และมีของจากต่างประเทศอยู่ในเรือและประสงค์จะส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือมีของที่จะขนขึ้น ณ ที่อื่นภายในราชอาณาจักร นายเรือต้องแถลงข้อความเกี่ยวกับของนั้นไว้ในรายงานเรือเข้าด้วย

มาตรา 4 วรรค 12 “การผ่านแดน” “Transit” หมายความว่า
(1) การขนส่งของผ่านราชอาณาจักรจากด่านศุลกากรแห่งหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามาไปยังด่านศุลกากรอีกแห่งหนึ่งที่ขนส่งของออกไป
(2) ภายใต้การควบคุมของศุลกากร โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร
(3) ไม่ว่าการขนส่งนั้นจะมีการขนถ่ายของเพื่อเปลี่ยนยานพาหนะ การเก็บรักษาของ การเปลี่ยนภาชนะบรรจุของเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง หรือการเปลี่ยนรูปแบบของการขนส่งของด้วยหรือไม่ก็ตาม
(4) ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการใช้ประโยชน์ใด ๆ ซึ่งของนั้นหรือมีพฤติกรรมใด ๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้าเกี่ยวกับของดังกล่าวในราชอาณาจักร



มาตรา 4 วรรค 13 “การถ่ายลํา” “Transshipment” หมายความว่า
(1) การถ่ายของจากยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามาในราชอาณาจักรไปยังอีกยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร
(2) ภายใต้การควบคุมของศุลกากรในด่านศุลกากรแห่งเดียวกัน โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร


ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๑๐๒ ผู้ใดนำของเข้ามาเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำออกนอกราชอาณาจักรให้ยื่นใบขนสินค้าตามแบบ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
   ของตามวรรคหนึ่งไม่อยู่ภายใต้ความรับผิดที่จะต้องเสียอากร หากได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง และได้นำของออกไปนอกราชอาณาจักรภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
   การผ่านแดนที่มีการข้ามแดนทางบกให้กระทำได้ต่อเมื่อมีความตกลงระหว่างประเทศ
   มาตรา ๑๐๓ ในกรณีที่ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำไม่นำของออกไปนอกราชอาณาจักรภายในระยะเวลาตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง หรือขอเปลี่ยนการผ่านพิธีการศุลกากรเป็นการนำเข้าและได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว แต่ไม่เสียอากรหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ของนั้นตกเป็นของแผ่นดิน


มาตรา 4 วรรค 14 “พนักงานศุลกากร” “Customs Officer” หมายความว่า
(๑) บุคคลซึ่งรับราชการในกรมศุลกากรและได้รับการแต่งตั้งจากอธิบดีให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามปกติหรือให้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะการ
(๒) เจ้าหน้าที่ทหารเรือ นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพิเศษจากอธิบดีให้กระทำการแทนกรมศุลกากร
(๓) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้กระทำการเป็นพนักงานศุลกากร

ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๑๖๗ ให้พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ มีอำนาจยึดหรืออายัดสิ่งใด ๆ อันจะพึงต้องริบหรือเป็นที่สงสัยว่าจะพึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้ไว้ได้
   สิ่งที่อายัดไว้นั้น หากตรวจสอบแล้วพบว่าสิ่งนั้นไม่เป็นของอันพึงต้องริบ ให้เพิกถอนการอายัดสิ่งนั้น แต่กรณีเป็นสิ่งอันพึงต้องริบ ให้พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ มีอำนาจยึดสิ่งนั้น
   สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิด และเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนดหกสิบวันหรือถ้าเป็นสิ่งอื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ยึด ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดิน

มาตรา 4 วรรค 15 “อธิบดี” “Director-General” หมายความว่า
อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

มาตรา 4 วรรค 16 “รัฐมนตรี” “Minister” หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

4. การออกกฎกระทรวง (กฎหมายลำดับรอง)
5. บททั่วไป (หมวด 1)
6. แบบทดสอบท้ายบท

ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 26/06/2564 Update 04/07/64
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หลักสูตรกฎหมายศุลกากรออนไลน์

หลักสูตรออนไลน์พื้นฐานกฎหมายศุลกากร (ระดับเริ่มต้น) Customs Law Fundamentals Online Course (Beginner level) สรุปพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 25...