วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

5. บททั่วไป (หมวด 1)

หมวด 1 บททั่วไป (ม.6-12)
หมวด ๑ บททั่วไป
    มาตรา ๖ ในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้
    ในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นแก่อากาศยาน และมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคมนาคมระหว่างประเทศ รัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเฉพาะกรณี ให้ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกหรือผู้ควบคุมอากาศยานใดได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๓ การนำของเข้าและการส่งของออก โดยจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้
    มาตรา ๗ อธิบดีอาจเรียกให้ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการศุลกากรให้ประกันอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อรับรองว่าจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการศุลกากร
    การให้ประกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
    มาตรา ๘ บรรดาบัญชี เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเสียอากร หรือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศ อธิบดีอาจสั่งให้ผู้ยื่นบัญชี เอกสารหรือหลักฐานดังกล่าว จัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จและส่งภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควร
    มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง ร้องขอให้ดำเนินพิธีการศุลกากรหรือให้บริการใด ๆ ในทางศุลกากร ตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร เมื่อได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีแล้ว ให้ดำเนินการตามที่ร้องขอได้
    มาตรา ๑๐ การขอสำเนาใบรับรอง ใบขนสินค้า บัญชี หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับการศุลกากร ซึ่งมิได้เป็นความลับนั้น เมื่ออธิบดีเห็นสมควรก็ออกให้ได้ โดยให้ผู้ขอเสียค่าใช้จ่ายตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
    มาตรา ๑๑ การดำเนินการทางศุลกากร ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการทางศุลกากรโดยเอกสาร ทั้งนี้ การนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากรให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
    มาตรา ๑๒ การดำเนินการใดโดยทางเอกสารซึ่งพระราชบัญญัตินี้บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าเป็นความผิดและมีโทษเช่นเดียวกับการกระทำที่ได้ดำเนินการโดยทางเอกสาร

มาตรา 6 ในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ
    - เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
    - ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง
    - กำหนดให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยจะกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติไว้ด้วยก็ได้
   ตัวอย่าง เช่น
กฎกระทรวงกำหนดการยื่นใบขนสินค้าและการเสียอากรสำหรับก๊าซธรรมชาติและพลังงานไฟฟ้าที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๖๐

มาตรา 7 อธิบดีอาจเรียกให้ประกัน
- อธิบดีอาจเรียกให้ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการศุลกากร
- ให้ประกันอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อรับรองว่าจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการศุลกากร
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก.132/61 คู่มือการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการส่งออก (ม.7, 52)
- ปก.133/61 คู่มือการปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการนำเข้า (ม.7, 52)

มาตรา 8 เอกสารที่เกี่ยวข้องให้แปลเป็นภาษาไทย
    - บรรดาบัญชี เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเสียอากร หรือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศ
    - อธิบดีอาจสั่งให้ผู้ยื่นบัญชี เอกสารหรือหลักฐานดังกล่าว จัดการแปลเป็นภาษาไทยให้เสร็จและส่งภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควร
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก. 94/64 การลงทะเบียนผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากร (ม.8, 51, 99, 100, 101)

มาตรา 9 การร้องขอให้ดําเนินพิธีการศุลกากร
    - ในกรณีที่ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
    - ร้องขอให้ดำเนินพิธีการศุลกากรหรือให้บริการใด ๆ ในทางศุลกากร ตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
    - เมื่อได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีแล้ว ให้ดำเนินการตามที่ร้องขอได้
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก.59/61 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการตรวจปล่อยผู้โดยสารและหีบห่อสัมภาระระหว่างสนามบินภายในประเทศ โดยวิธีการ Check Through (ม.7, 9, 97)
- ปก.73/62 การดำเนินกระบวนการทางศุลกากร สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละศูนย์ตาม มาตรา ๘๐/๑ แห่งประมวลรัษฎากร ขายสินค้าภายในบริเวณ ห้องผู้โดยสารขาออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ (ม.9, 51, 52, 158, 159)
- ปก. 47/63 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) สำหรับผู้นำของเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) (ม.7, 9, 51)
- ปก.81/63 การแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้นำของเข้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ม.7, 9, 51)


มาตรา 10 การขอสําเนาเอกสาร
    - การขอสำเนาใบรับรอง ใบขนสินค้า บัญชี หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับการศุลกากร ซึ่งมิได้เป็นความลับนั้น
    - เมื่ออธิบดีเห็นสมควรก็ออกให้ได้ โดยให้ผู้ขอเสียค่าใช้จ่ายตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก.170/2560 กำหนดค่าใช้จ่ายการขอสำเนาใบรับรองใบขนสินค้าบัญชีหรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับการศุลกากร ลว.22.11.60 (เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ ธันวาคม ๒๕๖๐)
- ปก.09/62 การเพิ่มช่องทางการชำระเงินค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียมศุลกากร รายได้อื่นและ/หรือเงินประกัน และการพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน กศก.123 (ม.10, 51)


มาตรา 11 การดำเนินการทางศุลกากรในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
    - การดำเนินการทางศุลกากร ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
    - ให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการทางศุลกากรโดยเอกสาร
    - ทั้งนี้ การนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากรให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก.61/61 ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของหรือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ (ม.11, 12, 99, 101)

มาตรา 12 การกระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีความผิดและโทษเช่นเดียวกับเอกสาร

    - การดำเนินการใดโดยทางเอกสารซึ่งพระราชบัญญัตินี้บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
    - ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
   - ให้ถือว่าเป็นความผิดและมีโทษเช่นเดียวกับการกระทำที่ได้ดำเนินการโดยทางเอกสาร
    ตัวอย่างประกาศกรมศุลกากร (ปก.) ดังต่อไปนี้
- ปก.61/61 ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของหรือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกของ (ม.11, 12, 99, 101)


ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 26/06/2564 Update 04/07/64
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com


4. การออกกฎกระทรวง (กฎหมายลำดับรอง)

มาตรา 5 การออกกฎกระทรวงต่าง ๆ เพื่อกำหนดกิจการตามกฎหมาย
   "มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานศุลกากร กับออกกฎกระทรวงในเรื่องดังต่อไปนี้
    (๑) กำหนดท่า ที่ หรือสนามบินใด ๆ ในราชอาณาจักรให้เป็นด่านศุลกากร โดยจะกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้ รวมทั้งระบุเขตศุลกากรของด่านศุลกากรนั้น
    (๒) กำหนดที่ใด ๆ ให้เป็นด่านพรมแดน โดยจะกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้
    (๓) กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ หรือยกเว้นค่าธรรมเนียม
    (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นใบขนสินค้าและการเสียอากร สำหรับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่มีลักษณะพิเศษหรือมีเหตุจำเป็น
    (๕) กำหนดชนิดหรือประเภทของสินค้าอันตราย การเก็บและการขนถ่ายสินค้าอันตรายที่อยู่ในเขตศุลกากรและที่นำออกไปจากเขตศุลกากร รวมทั้งวิธีการจัดเก็บอากรสำหรับสินค้าอันตรายดังกล่าว
    (๖) กำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
    กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้"



มาตรา ๕ (๑) กำหนดท่า ที่ หรือสนามบินใด ๆ ในราชอาณาจักรให้เป็นด่านศุลกากร
    -โดยจะกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้
    -รวมทั้งระบุเขตศุลกากรของด่านศุลกากรนั้น
มาตรา ๕ (๒) กำหนดที่ใด ๆ ให้เป็นด่านพรมแดน
    โดยจะกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้

ตัวอย่าง เช่น
กฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน พ.ศ. ๒๕๖๐




แผนที่ตั้งด่านศุลกากรทั่วประเทศ


มาตรา ๕ (๓) กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ หรือยกเว้นค่าธรรมเนียม
    ตัวอย่าง เช่น
กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐


มาตรา ๕ (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นใบขนสินค้าและการเสียอากร สำหรับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่มีลักษณะพิเศษหรือมีเหตุจำเป็น
    ตัวอย่าง เช่น
กฎกระทรวงกำหนดการยื่นใบขนสินค้าและการเสียอากรสำหรับก๊าซธรรมชาติและพลังงานไฟฟ้าที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๖๐



มาตรา ๕ (๕) กำหนดชนิดหรือประเภทของสินค้าอันตราย
    -การเก็บและการขนถ่ายสินค้าอันตรายที่อยู่ในเขตศุลกากรและที่นำออกไปจากเขตศุลกากร
    -รวมทั้งวิธีการจัดเก็บอากรสำหรับสินค้าอันตรายดังกล่าว
    ตัวอย่าง เช่น
    - กฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภท การเก็บและการขนถ่ายและการจัดเก็บอากร สำหรับสินค้าอันตราย พ.ศ. ๒๕๖๐ 

    - ปก.142/2560 พิธีการศุลกากรว่าด้วยของตกค้าง ลว.13.11.60 (ม.107, 108, 109 และ 110) -เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๗๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
    (กำหนดให้ของนำเข้าที่เป็นสินค้าอันตรายตามชนิด หรือประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด ซึ่งผู้นำของเข้ามิได้นำของออกไปจากเขตศุลกากรภายในห้าวัน สำหรับของที่ขนถ่ายข้างลำ (OVERSIDE) และภายใน 7 วันสาหรับกรณีอื่น นับแต่สินค้าอันตรายอยู่ในอารักขาของศุลกากร ถ้าพ้นกำหนดแล้วสินค้าอันตรายนั้นจะตกเป็นของตกค้างโดยผลของกฎหมาย)



มาตรา ๕ (๖) กำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
    กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
    ตัวอย่าง เช่น
   - กฎกระทรวงกำหนดค่าใช้จ่ายการเก็บรักษาของในที่เก็บรักษาหรือในคลังสินค้าของศุลกากร 
พ.ศ ๒๕๖๐


   - กฎกระทรวงกำหนดพื้นที่ที่ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรการครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ซึ่งของในเขตปลอดอากร พ.ศ. ๒๕๖๐



ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 26/06/2564  Update 04/07/64
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com



3. บทวิเคราะห์ศัพท์

มาตรา 4 บทวิเคราะห์ศัพท์
    มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
    “อากร” หมายความว่า อากรศุลกากรที่จัดเก็บกับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร
    “ผู้นำของเข้า” ให้หมายความรวมถึง เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียในของใด ๆ นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรจนถึงเวลาที่พนักงานศุลกากรได้ส่งมอบให้ไปโดยถูกต้องพ้นจากอารักขาของพนักงานศุลกากร
    “ผู้ส่งของออก” ให้หมายความรวมถึง เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียในของใด ๆ นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาในอารักขาของพนักงานศุลกากรจนถึงเวลาที่ได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
    “ของต้องห้าม” หมายความว่า ของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามมิให้นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำผ่านราชอาณาจักร
    “ของต้องกำกัด” หมายความว่า ของที่มีกฎหมายกำหนดว่า หากจะมีการนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำผ่านราชอาณาจักร จะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
    “ด่านศุลกากร” หมายความว่า ท่า ที่ หรือสนามบินที่ใช้สำหรับการนำของเข้า การส่งของออก การผ่านแดน การถ่ายลำ และการศุลกากรอื่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
    “ด่านพรมแดน” หมายความว่า ด่านที่ตั้งขึ้น ณ บริเวณเขตแดนทางบก บนทางอนุมัติ เพื่อประโยชน์ในการตรวจของที่ขนส่งโดยทางนั้น
    “เรือ” หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำที่ใช้ในการขนส่งของหรือคน และให้หมายความรวมถึงเรือประมงด้วย
    “นายเรือ” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหรือควบคุมเรือ
    “เขตแดนทางบก” หมายความว่า เขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรกับดินแดนต่างประเทศและให้หมายความรวมถึงทางน้ำใด ๆ ที่เป็นเขตแดนแห่งราชอาณาจักรหรือตอนหนึ่งแห่งเขตแดนนั้น
    “ทางอนุมัติ” หมายความว่า ทางที่ใช้ขนส่งของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจากเขตแดนทางบกมายังด่านศุลกากร หรือจากด่านศุลกากรไปยังเขตแดนทางบก
    “การผ่านแดน” หมายความว่า การขนส่งของผ่านราชอาณาจักรจากด่านศุลกากรแห่งหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามาไปยังด่านศุลกากรอีกแห่งหนึ่งที่ขนส่งของออกไป ภายใต้การควบคุมของศุลกากร โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่ว่าการขนส่งนั้นจะมีการขนถ่ายของเพื่อเปลี่ยนยานพาหนะ การเก็บรักษาของ การเปลี่ยนภาชนะบรรจุของเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง หรือการเปลี่ยนรูปแบบของการขนส่งของด้วยหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการใช้ประโยชน์ใด ๆ ซึ่งของนั้นหรือมีพฤติกรรมใด ๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้าเกี่ยวกับของดังกล่าวในราชอาณาจักร
    “การถ่ายลำ” หมายความว่า การถ่ายของจากยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามาในราชอาณาจักรไปยังอีกยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร ภายใต้การควบคุมของศุลกากรในด่านศุลกากรแห่งเดียวกัน โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร
    “พนักงานศุลกากร” หมายความว่า
    (๑) บุคคลซึ่งรับราชการในกรมศุลกากรและได้รับการแต่งตั้งจากอธิบดีให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามปกติหรือให้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะการ
    (๒) เจ้าหน้าที่ทหารเรือ นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพิเศษจากอธิบดีให้กระทำการแทนกรมศุลกากร
    (๓) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้กระทำการเป็นพนักงานศุลกากร
    “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
    “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา 4 วรรค 1 “อากร” “Duty” หมายความว่า
(1) อากรศุลกากรที่จัดเก็บกับ
(2) ของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
  (2.1) ตามพระราชบัญญัตินี้และ
  (2.2) กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรหรือ
  (2.3) กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร


ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๑๓ การนำของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้เรียกเก็บอากรจากผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
   ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จหรือส่งของออกสำเร็จตามมาตรา ๕๐
   ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีหน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานศุลกากรและพนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว

มาตรา 4 วรรค 2 “ผู้นําของเข้า” “Importer” ให้หมายความรวมถึง
(1) เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียในของใด ๆ
(2) นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรจนถึงเวลาที่พนักงานศุลกากรได้ส่งมอบให้ไปโดยถูกต้องพ้นจากอารักขาของพนักงานศุลกากร


มาตรา 4 วรรค 3 “ผู้ส่งของออก” “Exporter” ให้หมายความรวมถึง
(1) เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียในของใด ๆ
(2) นับแต่เวลาที่นำของนั้นเข้ามาในอารักขาของพนักงานศุลกากรจนถึงเวลาที่ได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร


ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๕๑ ก่อนที่จะนำของใดไปจากอารักขาของศุลกากรหรือก่อนที่จะส่งของใดออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียอากรจนครบถ้วนหรือวางประกันไว้
   การยื่นใบขนสินค้า การเสียอากร และการวางประกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

มาตรา 4 วรรค 4 “ของต้องห้าม” “Prohibited goods” หมายความว่า
(1) ของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามมิให้
(2) นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำผ่านราชอาณาจักร

มาตรา 4 วรรค 5 “ของต้องกํากัด” “Restricted goods” หมายความว่า
(1) ของที่มีกฎหมายกำหนดว่า หากจะมีการนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำผ่านราชอาณาจักร
(2) จะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๑๖๖ ของที่ยังมิได้เสียอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร เป็นของที่พึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้
   มาตรา ๒๔๔ ผู้ใดนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
   ผู้ใดพยายามกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน



มาตรา 4 วรรค 6 “ด่านศุลกากร” “Customs house” หมายความว่า
(1) ท่า ที่ หรือสนามบินที่ใช้สำหรับ
(2) การนำของเข้า การส่งของออก การผ่านแดน การถ่ายลำ และการศุลกากรอื่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร


มาตรา 4 วรรค 7 “ด่านพรมแดน” “Border Crossing Point” หมายความว่า
(1) ด่านที่ตั้งขึ้น ณ บริเวณเขตแดนทางบก
(2) บนทางอนุมัติ เพื่อประโยชน์ในการตรวจของที่ขนส่งโดยทางนั้น

มาตรา 4 วรรค 10 “เขตแดนทางบก” “Land frontier” หมายความว่า
(1) เขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรกับดินแดนต่างประเทศ
(2) และให้หมายความรวมถึงทางน้ำใด ๆ ที่เป็นเขตแดนแห่งราชอาณาจักรหรือตอนหนึ่งแห่งเขตแดนนั้น

มาตรา 4 วรรค 11 “ทางอนุมัติ” “Authorized route” หมายความว่า
(1) ทางที่ใช้ขนส่งของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
(2) จากเขตแดนทางบกมายังด่านศุลกากร หรือจากด่านศุลกากรไปยังเขตแดนทางบก


ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๘๖ การขนส่งของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตั้งแต่เขตแดนทางบกมายังด่านศุลกากร หรือจากด่านศุลกากรไปยังเขตแดนทางบก ต้องขนส่งตามทางอนุมัติ และภายในกำหนดเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด
   การขนส่งของตามทางอื่นนอกจากทางอนุมัติหรือในเวลาอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
   มาตรา ๘๗ ในกรณีที่การขนส่งของตามมาตรา ๘๖ เป็นการขนส่งตามลำน้ำที่เป็นเขตแดนทางบก ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่ตามลำน้ำที่เป็นเขตแดนทางบกนั้น เพื่อให้นายเรือจอดเทียบท่าและขนถ่ายของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

มาตรา 4 วรรค 8 “เรือ” “Vessel” หมายความว่า
(1) ยานพาหนะทางน้ำที่ใช้ในการขนส่งของหรือคน
(2) และให้หมายความรวมถึงเรือประมงด้วย

มาตรา 4 วรรค 9 “นายเรือ” “Master of a vessel” หมายความว่า
บุคคลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหรือควบคุมเรือ

ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๖๔ เรือที่เข้ามาในราชอาณาจักรเว้นแต่เรือของทางราชการ ให้นายเรือมีหน้าที่ทำรายงานเรือเข้าและยื่นบัญชีสินค้าสำ หรับเรือและแสดงใบทะเบียนเรือต่อพนักงานศุลกากรเพื่อตรวจสอบ
   การทำรายงานเรือเข้าและการยื่นบัญชีสินค้าสำหรับเรือตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
   ในกรณีที่เรือตามวรรคหนึ่งมาถึงท่าที่เป็นด่านศุลกากร และมีของจากต่างประเทศอยู่ในเรือและประสงค์จะส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือมีของที่จะขนขึ้น ณ ที่อื่นภายในราชอาณาจักร นายเรือต้องแถลงข้อความเกี่ยวกับของนั้นไว้ในรายงานเรือเข้าด้วย

มาตรา 4 วรรค 12 “การผ่านแดน” “Transit” หมายความว่า
(1) การขนส่งของผ่านราชอาณาจักรจากด่านศุลกากรแห่งหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามาไปยังด่านศุลกากรอีกแห่งหนึ่งที่ขนส่งของออกไป
(2) ภายใต้การควบคุมของศุลกากร โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร
(3) ไม่ว่าการขนส่งนั้นจะมีการขนถ่ายของเพื่อเปลี่ยนยานพาหนะ การเก็บรักษาของ การเปลี่ยนภาชนะบรรจุของเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง หรือการเปลี่ยนรูปแบบของการขนส่งของด้วยหรือไม่ก็ตาม
(4) ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการใช้ประโยชน์ใด ๆ ซึ่งของนั้นหรือมีพฤติกรรมใด ๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้าเกี่ยวกับของดังกล่าวในราชอาณาจักร



มาตรา 4 วรรค 13 “การถ่ายลํา” “Transshipment” หมายความว่า
(1) การถ่ายของจากยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามาในราชอาณาจักรไปยังอีกยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร
(2) ภายใต้การควบคุมของศุลกากรในด่านศุลกากรแห่งเดียวกัน โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร


ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๑๐๒ ผู้ใดนำของเข้ามาเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำออกนอกราชอาณาจักรให้ยื่นใบขนสินค้าตามแบบ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
   ของตามวรรคหนึ่งไม่อยู่ภายใต้ความรับผิดที่จะต้องเสียอากร หากได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง และได้นำของออกไปนอกราชอาณาจักรภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
   การผ่านแดนที่มีการข้ามแดนทางบกให้กระทำได้ต่อเมื่อมีความตกลงระหว่างประเทศ
   มาตรา ๑๐๓ ในกรณีที่ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำไม่นำของออกไปนอกราชอาณาจักรภายในระยะเวลาตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง หรือขอเปลี่ยนการผ่านพิธีการศุลกากรเป็นการนำเข้าและได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว แต่ไม่เสียอากรหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ของนั้นตกเป็นของแผ่นดิน


มาตรา 4 วรรค 14 “พนักงานศุลกากร” “Customs Officer” หมายความว่า
(๑) บุคคลซึ่งรับราชการในกรมศุลกากรและได้รับการแต่งตั้งจากอธิบดีให้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามปกติหรือให้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะการ
(๒) เจ้าหน้าที่ทหารเรือ นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพิเศษจากอธิบดีให้กระทำการแทนกรมศุลกากร
(๓) เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้กระทำการเป็นพนักงานศุลกากร

ตัวอย่าง เช่น
   มาตรา ๑๖๗ ให้พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ มีอำนาจยึดหรืออายัดสิ่งใด ๆ อันจะพึงต้องริบหรือเป็นที่สงสัยว่าจะพึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้ไว้ได้
   สิ่งที่อายัดไว้นั้น หากตรวจสอบแล้วพบว่าสิ่งนั้นไม่เป็นของอันพึงต้องริบ ให้เพิกถอนการอายัดสิ่งนั้น แต่กรณีเป็นสิ่งอันพึงต้องริบ ให้พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ มีอำนาจยึดสิ่งนั้น
   สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิด และเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนดหกสิบวันหรือถ้าเป็นสิ่งอื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ยึด ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดิน

มาตรา 4 วรรค 15 “อธิบดี” “Director-General” หมายความว่า
อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

มาตรา 4 วรรค 16 “รัฐมนตรี” “Minister” หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

4. การออกกฎกระทรวง (กฎหมายลำดับรอง)
5. บททั่วไป (หมวด 1)
6. แบบทดสอบท้ายบท

ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 26/06/2564 Update 04/07/64
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com


1. หลักการและเหตุผล ภาพรวม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560

ตอนที่ 1 ภาพรวมกฎหมายศุลกากร บทวิเคราะห์ศัพท์ การออกกฎกระทรวงและบททั่วไป (ม.4 – 12)
1. หลักการและเหตุผล
2. ภาพรวม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560
3. บทวิเคราะห์ศัพท์
4. การออกกฎกระทรวง (กฎหมายลำดับรอง)
5. บททั่วไป (หมวด 1)



1. หลักการและเหตุผล
   หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 คือ
   1.1 พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางเรื่องล้าสมัยหรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
   1.2 มีการตรากฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวหลายฉบับ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้บังคับกฎหมาย
   1.3 การค้าและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้พัฒนาและขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีความจำเป็นต้องปรับปรุงการดำเนินพิธีการศุลกากรและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
   1.4 เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
   ม. ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (หน้า ๒๖ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐)


2. ภาพรวม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560
   กำหนดให้ ม. ๔ เป็นบทวิเคราะห์ศัพท์ และ ม. ๕ ว่าด้วยอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถาพรวมกฎหมายได้แบ่งออกเป็น 9 หมวด และบทเฉพาะ รวมทั้งหมด 262 มาตรา ดังนี้

หมวด ๑ บททั่วไป (ม. ๖ - ๑๒)

หมวด ๒ การจัดเก็บอากร (ม.13 – 49)
ส่วนที่ ๑ การเสียอากร (ม.๑๓ – ๑๘)
ส่วนที่ ๒ การประเมินอากร (ม.๑๙ – ๒๔)
ส่วนที่ ๓ การคืนอากร (ม.๒๕ – ๓๑)
ส่วนที่ ๔ การวินิจฉัยอากรและการอุทธรณ์การประเมินอากร (ม.๓๒ – ๔๙)

หมวด ๓ การนำของเข้าและการส่งของออก (ม.๕๐ – ๖๓)
ส่วนที่ ๑ การนำของเข้าและการส่งของออกทางทะเล (ม.๖๔ – ๘๕)
ส่วนที่ ๒ การนำของเข้าและการส่งของออกทางบก (ม.๘๖ – ๙๑)
ส่วนที่ ๓ การนำของเข้าและการส่งของออกทางอากาศ (ม.๙๒ – ๙๘)
ส่วนที่ ๔ ตัวแทน (ม.๙๙ – ๑๐๑)

หมวด ๔ การผ่านแดน การถ่ายลำ และของตกค้าง (ม.102 – 110)
ส่วนที่ ๑ การผ่านแดนและการถ่ายลำ (ม.๑๐๒ – ๑๐๖)
ส่วนที่ ๒ ของตกค้าง (ม.๑๐๗ – ๑๑๐)

หมวด ๕ คลังสินค้าทัณฑ์บน โรงพักสินค้า ที่มั่นคง และท่าเรือรับอนุญาต (ม.111 – 135)
ส่วนที่ ๑ การจัดตั้ง (ม.๑๑๑ – ๑๑๕)
ส่วนที่ ๒ การดำเนินการ (ม.๑๑๖ – ๑๓๑)
ส่วนที่ ๓ การพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาต (ม.๑๓๒ – ๑๓๕)

หมวด ๖ เขตปลอดอากร (ม.136 – 156)
ส่วนที่ ๑ การจัดตั้งเขตปลอดอากร (ม.๑๓๖ – ๑๔๕)
ส่วนที่ ๒ การขออนุญาตประกอบกิจการในเขตปลอดอากร (ม.๑๔๖ – ๑๕๐)
ส่วนที่ ๓ สิทธิประโยชน์ในเขตปลอดอากร (ม.๑๕๑ – ๑๕๖)

หมวด ๗ พนักงานศุลกากร (ม.๑๕๗ – ๑๗๔)

หมวด ๘ อำนาจทางศุลกากรในพื้นที่เฉพาะ (ม.175 – 201)
ส่วนที่ ๑ เขตควบคุมศุลกากร (ม.๑๗๕ – ๑๗๗)
ส่วนที่ ๒ พื้นที่ควบคุมร่วมกัน (ม.๑๗๘ – ๑๘๓)
ส่วนที่ ๓ การค้าชายฝั่ง (ม.๑๘๔ – ๑๘๗)
ส่วนที่ ๔ เขตต่อเนื่อง (ม.๑๘๘ – ๑๙๑)
ส่วนที่ ๕ พื้นพัฒนาร่วมกัน (ม.๑๙๒ – ๒๐๑)
ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 26/06/2564
dr.sangob.ct@gmail.com
dr.sangob.blogspot.com





หลักสูตรกฎหมายศุลกากรออนไลน์

หลักสูตรออนไลน์พื้นฐานกฎหมายศุลกากร (ระดับเริ่มต้น) Customs Law Fundamentals Online Course (Beginner level) สรุปพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 25...