1. หลักในการเสียค่าอากรและความรับผิด (ม. 13)
1.1 ม. 13 ว1 หลักในการเสียอากร
1.2 ม. 13 ว2 ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากร
1.3 ม. 13 ว3 หน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้า
1) ยื่นใบขนสินค้าเมื่อใด
1.1) ต้องยื่นก่อนที่จะนำของออกไปจากอารักขาหรือก่อนที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ม. 51 วรรค 1 และ 2)
1.2) กรณีนำของออกไปก่อนหรือส่งออกไปก่อนโดยที่ยังไม่ได้ทำใบขนสินค้า (ม. 51 วรรค 3)
1.3) ของติดตัวผู้โดยสารเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ต้องยื่นใบขนสินค้าสำหรับของนั้น (ม. 53)
1.4) การขอเปิดของก่อนทำใบขนสินค้า/ใบขอเปิดตรวจ (Bill of Sight) (ม. 54)
2) รายละเอียดที่จำเป็นในการสำแดงในใบขนสินค้า (ม. 52)
3) การยื่นและออกเลขที่ใบขนสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
1.4 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
1.5 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. หลักในการเสียค่าอากรและความรับผิด (ม. 13)
“มาตรา ๑๓ การนำของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้เรียกเก็บอากรจากผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จหรือส่งของออกสำเร็จตามมาตรา ๕๐
ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีหน้าที่เสียอากรเมื่อได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานศุลกากรและพนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว”
1.1 มาตรา 13 วรรค 1 หลักในการเสียอากร
“มาตรา ๑๓ การนำของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้เรียกเก็บอากรจากผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร”
1) ตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น
มาตรา 14 การคํานวณอากรสําหรับของที่นําเข้า
มาตรา 15 การคํานวณอากรสําหรับของที่ส่งออก
มาตรา 16 “ราคาศุลกากร”
มาตรา 17 การกําหนดราคาศุลกากร
มาตรา 18 ขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกําเนิด
“มาตรา ๑๓ การนำของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้เรียกเก็บอากรจากผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร”
1) ตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น
มาตรา 14 การคํานวณอากรสําหรับของที่นําเข้า
มาตรา 15 การคํานวณอากรสําหรับของที่ส่งออก
มาตรา 16 “ราคาศุลกากร”
มาตรา 17 การกําหนดราคาศุลกากร
มาตรา 18 ขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกําเนิด
2) ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มีมาตราหลักๆ ที่สำคัญ เช่น มาตรา 4 หลักในการเรียกเก็บและเสียอากร และมาตรา
“มาตรา 4 ของที่นำเข้ามาหรือพาเข้ามาในหรือส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักรนั้น ให้เรียกเก็บและเสียอากรตามที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรท้ายพระราชกำหนดนี้ หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดนี้
ในการคำนวณเงินอากรที่ต้องเสียหรือจ่ายคืนแต่ละรายการ เศษของหนึ่งบาทให้ปัดทิ้ง"
มาตรา 4 ที่ว่า “พิกัดอัตราท้ายพระราชกำหนดนี้” แบ่งออกเป็น 4 ภาค ประกอบไปด้วย
ภาคที่ 1 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร (6 ข้อ)
ภาคที่ 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า (21 หมวด 97 ตอน) ตามอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์และพิธีสารว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ (มาตรา 14 ทวิ) พิกัดอัตราอากรของไทยจึงประกอบไปด้วยรหัสตัวเลข 8 ตัว ดังนี้
รหัสพิกัดอัตราศุลกากร 6 ตัว สำหรับ WTO ตามที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกองค์การศุลกากรโลก (WTO) และเป็นภาคีอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก
รหัสพิกัดอัตราศุลกากร 8 ตัว สำหรับใช้ใน ASEAN ตามพิธีสารว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ ซึ่งพิธีสารดังกล่าวได้กำหนดให้ใช้พิกัดศุลกากรในระดับ ๘ หลักร่วมกัน หมายถึง นอกจาก 6 ตัวที่บังคับโดย WTO ในกลุ่มประเทศ ASEAN ได้ทำความตกลงใช้ในรหัสหลักที่ 7 และ 8 ร่วมกันดังนี้
ประเภทย่อย 8483.40.20 - เกียร์และเครื่องเกียร์ นอกจากล้อเฟือง ล้อเฟืองขับโซ่ และส๋วนอื่น ๆ ของระบบส่งกำลังที่แยกนำเข้ามา บอลล์สกรูหรือโรลเลอร์สกรู กระปุกเกียร์และเครื่องเปลี่ยนความเร็วอื่น ๆ รวมถึงทอร์คคอนเวอร์เตอร์ (สำหรับยายทางน้ำ)
ภาค 3 พิกัดอัตราอากรขาออก (9 ประเภท)
ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากร (19 ประเภท)
ภาคที่ 1 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร (6 ข้อ)
ภาคที่ 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า (21 หมวด 97 ตอน) ตามอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์และพิธีสารว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ (มาตรา 14 ทวิ) พิกัดอัตราอากรของไทยจึงประกอบไปด้วยรหัสตัวเลข 8 ตัว ดังนี้
รหัสพิกัดอัตราศุลกากร 6 ตัว สำหรับ WTO ตามที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกองค์การศุลกากรโลก (WTO) และเป็นภาคีอนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลก
รหัสพิกัดอัตราศุลกากร 8 ตัว สำหรับใช้ใน ASEAN ตามพิธีสารว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ ซึ่งพิธีสารดังกล่าวได้กำหนดให้ใช้พิกัดศุลกากรในระดับ ๘ หลักร่วมกัน หมายถึง นอกจาก 6 ตัวที่บังคับโดย WTO ในกลุ่มประเทศ ASEAN ได้ทำความตกลงใช้ในรหัสหลักที่ 7 และ 8 ร่วมกันดังนี้
ประเภทย่อย 8483.40.20 - เกียร์และเครื่องเกียร์ นอกจากล้อเฟือง ล้อเฟืองขับโซ่ และส๋วนอื่น ๆ ของระบบส่งกำลังที่แยกนำเข้ามา บอลล์สกรูหรือโรลเลอร์สกรู กระปุกเกียร์และเครื่องเปลี่ยนความเร็วอื่น ๆ รวมถึงทอร์คคอนเวอร์เตอร์ (สำหรับยายทางน้ำ)
ภาค 3 พิกัดอัตราอากรขาออก (9 ประเภท)
ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากร (19 ประเภท)
หมายเหตุ รายละเอียดเพิ่มเติมตาม (1) พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๙ และประกาศกรมศุลกากรที่ 199/2599 แก้ไขเพิ่มเติมรหัสสถิติศุลกากร (ตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 97)
มาตรา 13 วรรค 2 “ความรับผิดในอันจะต้องเสียอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จหรือส่งของออกสำเร็จตามมาตรา ๕๐”
หมายเหตุ ความรับผิดสำหรับของที่โอนสิทธิเกิดขึ้นนับแต่ที่เป็นอยู่ในวันโอนหรือนำไปใช้ในการอื่น ตามมาตรา ๑๐ แห่ง พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
“นำเข้าสำเร็จหรือส่งออกสำเร็จ” ตามที่กำหนดไว้มาตรา 13 วรรค 2 ข้างต้น
หมายถึงการขนส่งของเข้าหรือออกผ่านเขตแดนแห่งราชอาณาจักรไทย สำหรับการขนส่งของเข้าหรือส่งของออกในทางการค้าระหว่างประเทศสามารถแบ่งเส้นทางการขนส่งได้ออกเป็น 4 เส้นทางหลักๆ ได้แก่ ทางทะเล ทางบก (รถยนต์และรถไฟ) ทางอากาศและทางไปรษณีย์ นอกจากนี้ยังมีการขนส่งเส้นทางอื่น ๆ ที่เป็นสินค้าประเภทของเหลวและพลังงานได้แก่ ทางท่อกับทางสายส่งไฟฟ้า (ประกาศกรมฯ ที่ 134/2561) เป็นต้น
การนำเข้าของสำเร็จหรือส่งของออกสำเร็จใน 4 เส้นทางหลัก ๆ ดังนี้
1. การนำของเข้าหรือการส่งออกทางทะเล
ตามมาตรา 50 (1) การนำของเข้าทางทะเลให้ถือว่า เป็นอันสำเร็จเมื่อเรือที่นำของเข้ามานั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะขนถ่ายของขึ้นจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ส่วนการส่งของออกทางทะเล ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อเรือที่จะส่งของออกนั้นได้ออกจากเขตท่าท้ายสุดเพื่อไปจากราชอาณาจักร
1. การนำของเข้าหรือการส่งออกทางทะเล
ตามมาตรา 50 (1) การนำของเข้าทางทะเลให้ถือว่า เป็นอันสำเร็จเมื่อเรือที่นำของเข้ามานั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะขนถ่ายของขึ้นจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ส่วนการส่งของออกทางทะเล ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อเรือที่จะส่งของออกนั้นได้ออกจากเขตท่าท้ายสุดเพื่อไปจากราชอาณาจักร
2. การนำของเข้าหรือส่งออกทางบก
มาตรา 50 (2) การนำของเข้าทางบก ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อยานพาหนะที่นำของเข้ามานั้นได้เข้ามาถึงเขตด่านพรมแดน ส่วนการส่งของออกทางบก ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อยานพาหนะที่จะส่งของออกนั้นได้ออกจากเขตด่านพรมแดนเพื่อไปจากราชอาณาจักร
หมายเหตุ ดูบทวิเคราะห์ศัพท์ “ด่านพรมแดน” “เขตแดนทางบก” และ “ทางอนุมัติ” “ด่านศุลกากร” มีกำหนดนิยมคำศัพท์ไว้ตาม มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560
มาตรา 50 (2) การนำของเข้าทางบก ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อยานพาหนะที่นำของเข้ามานั้นได้เข้ามาถึงเขตด่านพรมแดน ส่วนการส่งของออกทางบก ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อยานพาหนะที่จะส่งของออกนั้นได้ออกจากเขตด่านพรมแดนเพื่อไปจากราชอาณาจักร
หมายเหตุ ดูบทวิเคราะห์ศัพท์ “ด่านพรมแดน” “เขตแดนทางบก” และ “ทางอนุมัติ” “ด่านศุลกากร” มีกำหนดนิยมคำศัพท์ไว้ตาม มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560
3. การนำของเข้าหรือส่งของออกทางอากาศ
มาตรา 50 (3) “การนำของเข้าทางอากาศ ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่ออากาศยานที่นำของเข้ามานั้นได้ถึงสนามบินที่เป็นด่านศุลกากร ส่วนการส่งของออกทางอากาศ ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่ออากาศยานที่จะส่งของออกนั้นได้ออกจากสนามบินที่เป็นด่านศุลกากรท้ายสุดเพื่อไปจากราชอาณาจักร”
4. การนำของเข้าหรือส่งของออกทางไปรษณีย์
มาตรา 50 (4) “การนำของเข้าทางไปรษณีย์ ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อได้เปิดถุงไปรษณีย์ ส่วนการส่งของออกทางไปรษณีย์ ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อได้ปิดถุงไปรษณีย์และได้ดำเนินการส่งออกตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
1.4 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
1.5 ความรับผิดในอันที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. หลักการคำนวณอากรและราคาศุลกากร (ม. 14 - 18)
2.1 ม. 14 หลักการคำนวณสำหรับของนำเข้า
2.2 ม. 14 (1) – (3) ข้อยกเว้นการคำนวณการนำของเข้าสำเร็จ
2.3 ม. 15 หลักการคำนวณสำหรับของส่งออก
2.4 ม. 18 การขอทราบราคาศุลกากร ถิ่นกำเนิดแห่งของ หรือพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า
3. แบบทดสอบท้ายบท
ลิขสิทธิ์โดย ดร.สงบ สิทธิเดช
Online 7/17/2021
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น